การเปรียบเทียบการเลี้ยงหนอนไหมอีรี่ด้วยอาหารสดและอาหารสังเคราะห์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ฐานิดา แก้วสองสี, กษิรา เกษรสิทธิ์, จีราวัฒน์ ชินกนกกาญจน์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เอมวิกา จิตโสภา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเลี้ยงหนอนไหมอีรี่จากอาหารสดและอาหารสังเคราะห์ หนอนไหมอีรี่ที่ศึกษาเป็นหนอนไหมอีรี่พันธุ์อินเดีย จากศูนย์ความเป็นเลิศวิชาการด้านไหม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยผู้ศึกษาทดลองให้อาหารสด คือ ใบละหุ่งและใบมันสำปะหลัง จัดเป็นสองพืชอาหารหลักของหนอนไหมอีรี่ ที่สามารถกินหรือใช้ทดแทนกันได้ ซึ่งการที่หนอนไหมอีรี่กินพืชไม่ซ้ำเดิมก็ทำให้ได้รับสารอาหารหลากหลายด้วย ด้วยเล็งเห็นว่าอัตราส่วนปริมาณใบละหุ่งต่อปริมาณใบมันสำปะหลังก็มีผลต่อการเจริญเติบโตของหนอนไหมอีรี่ ผู้ศึกษาจึงได้ออกแบบชุดการทดลองที่มีอัตราส่วนปริมาณของใบละหุ่งและใบมันสำปะหลังแตกต่าง 5 แบบ คือ ใบละหุ่ง 100% , ใบละหุ่ง 25%ผสมใบมันสำปะหลัง 75% , ใบละหุ่ง 50%ผสมใบมันสำปะหลัง50% , ใบละหุ่ง 75%ผสมใบมันสำปะหลัง 25% และใบมันสำปะหลัง 100% โดยดูอัตราส่วนที่ดีที่สุดสังเกตจากขนาดตัวหนอน(มิลลิเมตร),ระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลงวัยของตัวหนอนไหมอีรี่(วัน), ขนาดของรังไหม(มิลลิเมตร) เมื่อผู้ศึกษาได้ผลจากการสังเกตแล้วคิดว่าเหมาะสมแล้วในการใช้เลี้ยงหนอนไหมอีรี่ จึงคิดค้นและผลิตสูตรเป็นอาหารสังเคราะห์ เพื่อรับรองปัญหาที่เกิดที่เกษตรกรเตรียมพืชอาหารไม่ทันหรือพืชอาหารหลักมีไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถเลี้ยงตลอดทั้งปีได้ และในช่วงฤดูแล้งเป็นช่วงที่พืชอาหารหลักมีน้อยจึงเสี่ยงต่อการรักษาพันธุ์ไหม ผลการศึกษาอัตราส่วนพืชอาหารหลักที่ดีที่สุด พบว่า ต้องใช้ใบละหุ่ง 75% ผสมใบมันสำปะหลัง 25% ขนาดหนอนในแต่ละวัยก็มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเมื่อเทียบกับชุดทดลองอื่น จากผลการเปรียบเทียบพบว่า ขนาดของหนอนอาหารสังเคราะห์มีขนาดเพิ่มขึ้นจากอาหารสดที่ดีที่สุด 2.23% แต่อาหารสดที่ดีที่สุดให้น้ำหนักรังไหมมากกว่าอาหารสังเคราะห์ 1.94% ทำให้สามารถใช้ทดแทนกันได้ ซึ่งช่วยลดปริมาณการใช้พืชอาหารสดลง 96.33%