การศีกษาประสิทธิภาพของขนสัตว์ในการดูดซับน้ำมันบนผิวน้ำ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณิชากานต์ เกิดทวี, ปรียาพร มณีรัตน์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เสาวรจนี จันทวงค์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันแหล่งน้ำภายในชุมชนมีการเน่าเสีย เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ จากที่ภายในชุมชนต้องมีการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และใช้สอยในจุดประสงค์อื่น ๆ น้ำที่ใช้นี้จะมีปริมาณหนึ่งซึ่งเป็นปริมาณส่วนใหญ่กลายเป็นน้ำทิ้งออกมา น้ำทิ้งนี้ส่วนมากประกอบไปด้วยสารอินทรีย์ สบู่ ผงซักฟอก เศษอาหาร ไขมัน สารอินทรีย์ และสิ่งปฏิกูลอื่น ๆ เจือปนอยู่ สารเหล่านี้เมื่อไหลลงสู่แหลงน้ำ จะเกิดผลเสีย คือ จะเพิ่มอาหารเสริมแก่พืชน้ำและสัตว์น้ำ ทำให้มีพืชน้ำและสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น เมื่อพืชน้ำและสัตว์น้ำตายไป จะทำให้เกิดสารอินทรีย์ในน้ำเพิ่มขึ้น สารอินทรีย์ที่มาจากน้ำทิ้งและที่เกิดเพิ่มขึ้นนี้ ถ้ามีจำนวนมากเมื่อถูกย่อยสลาย ก็จะนำเอาออกซิเจนละลายในน้ำมาใช้ในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ออกซิเจนในอากาศละลายลงในน้ำ ทำให้เกิดสภาพขาดออกซิเจนขึ้น ทำให้น้ำกลายเป็นสีดำมีกลิ่นเหม็น จากการศึกษาค้นคว้า ปัจจัยหนึ่งของการเกิดน้ำเน่าเสีย ได้แก่ ไขมัน ผู้จัดทำมีความสนใจในน้ำมัน จากที่น้ำมันจะแยกตัวกับน้ำแล้วลอยบนผิวน้ำ ด้วยน้ำมันมีความหนาแน่นต่ำกว่าน้ำ ทำให้เบากว่าและลอยตัวขึ้นมาบนผิวน้ำ และเส้นผมมีท่อกลวงตรงกลางและมีเกล็ดเล็ก ๆ อยู่รอบนอก จึงมีพื้นที่ผิวมาก ทำให้สามารถดูดซับคราบน้ำมันได้ดี และเส้นขนของสัตว์ต่าง ๆ มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ดังนั้นผู้จัดทำจึงมีความสนใจในการศึกษาประสิทธิภาพของขนสัตว์ในการดูดซับน้ำมันบนผิวน้ำ เพื่อลดการเน่าเสียของแหล่งน้ำภายในชุมชน โดยใช้เส้นขนต่าง ๆ ดูดซับคราบน้ำมันบนผิวน้ำ และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของขนสัตว์ต่าง ๆ ในการดูดซับน้ำมันบนผิวน้ำ