แบบจำลองแผ่นฟิล์มลดความเข้มแสงจากสารสกัดหยาบแทนนิน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พิมชนก คชบุตร, ธาดารัตน์ คำยนต์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ดลดนัย บรรจง, วาสนา คำเทพ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันโลกกำลังประสบกับภาวะโลกร้อนและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี แสงเป็นพลังงานหนึ่งที่มีแหล่งกำเนิดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และแหล่งกำเนิดที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งแสงจาก
ดวงอาทิตย์หรือแสงแดดเป็นแสงที่มนุษย์พบเจอมากที่สุด และยังส่งผลเสียต่อร่างกายมนุษย์หากได้รับปริมาณแสงมากๆ ซึ่งก็มีผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ช่วยป้องกันแสงแดดเหล่านี้อยู่มากมาย ผู้จัดทำจึงสนใจ
ที่จะนำพืชท้องถิ่นของประเทศ คือ ใบชาอัสสัม ใบหูกวาง และใบมันสำปะหลัง มาสกัดเพื่อให้ได้สารสกัดหยาบที่มีคุณสมบัติป้องกันดูดกลืนแสง โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปริมาณสารสกัดหยาบแทนนินที่ได้จากใบชาอัสสัม ใบหูกวาง และใบมันสำปะหลัง 2) เปรียบเทียบความสามารถ
ในการลดความเข้มแสงจากสารสกัดหยาบจากใบชาอัสสัม ใบหูกวาง และใบมันสำปะหลัง และผลิตแผ่นฟิล์มต้นทุนต่ำที่สามารถลดความเข้มแสงได้ โดยมีวิธีการศึกษา ดังนี้ การทดลองที่ 1
ศึกษาปริมาณสารสกัดหยาบแทนนินที่สกัดได้จากพืช การทดลองที่ 2 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแผ่นฟิล์มที่สามารถลดความเข้มแสง
จากการศึกษาพบว่าใบมันสำปะหลัง ใบหูกวาง และใบมันสำปะหลัง สามารถให้ปริมาณสารสกัดหยาบแทนนินแตกต่างกัน คือ 2.44,1.94 และ 1.49 ตามลำดับ และมีสีที่แตกต่างกันเมื่อเรียงจากความเข้มมากไปหาความเข้มน้อยสามารถเรียงได้เป็นสารสกัดจากใบหูกวาง สารสกัดจากใบชาอัสสัมและสารสกัดจากใบมันสำปะหลัง และจากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแผ่นฟิล์มในการ
ลดความเข้มแสงพบว่า แผ่นฟิล์มที่สกัดจากใบหูกวางสามารถลดความเข้มแสงได้ดีที่สุด รองลงมา ได้แก่ แผ่นฟิล์มที่สกัดจากใบชาอัสสัม และใบมันสำปะหลัง ตามลำดับ