การระบุระดับความสุกของมะม่วงน้ำดอกไม้โดยใช้ค่าความหนาแน่นร่วมกับการประมาณปริมาตรรูปทรง 3 มิติ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จตุรภัทร อนุสรณ์พานิช, จารุกานต์ กิจจารุวงษ์, ธีธัช กวีดำรงพัฒนา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
มนัส สิทธิโชคธรรม
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบันมะม่วงน้ำดอกไม้เป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก มียอดการส่งออกเป็นแนวหน้าของผลไม้สด และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วย เพราะด้วยความที่มะม่วงน้ำดอกไม้นั้นมีกลิ่นที่หอม ผิวสัมผัสที่นุ่ม รับประทานง่ายและรสชาติที่หวานอร่อยถูกปากผู้บริโภค อีกทั้งหาซื้อได้ง่ายราคาจับต้องได้ และสามารถนำไปทำอาหารได้หลากหลายเมนู จึงทำให้มะม่วงน้ำดอกไม้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคจำนวนมากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตามผู้บริโภคแต่ละคนก็มีความชอบระดับความสุกและดิบของมะม่วงน้ำดอกไม้ที่แตกต่างกันออกไป อาทิเช่น บางคนอาจต้องการแบบ ความหวานมากโดยที่เนื้อไม่แน่นจนเกินไป บางคนต้องการแบบหวานโดยที่เนื้อแน่นๆไม่เละ บางคนอาจต้องการแบบปานกลาง แบบหวานน้อย หรือแบบไม่หวานเลย รวมทั้งการนําไปใช้เป็นส่วนประกอบในแต่ละเมนูก็ต้องการระดับความสุกของมะม่วงที่แตกต่างกัน เช่น ข้าวเหนียวมะม่วง ที่ต้องการมะม่วงสุก เพราะมีความหอมและหวาน เครปข้าวเหนียวมะม่วง ที่ต้องการมะม่วงที่สุก หอม หวานแต่ไม่เละจนเกินไป มะม่วงกวน ที่ต้องการมะม่วงที่ไม่สุกจนเกินไป มะม่วงโยเกิร์ตสมูทตี้ ที่ต้องการมะม่วงที่สุก หอม หวาน และเนื้อที่ไม่แน่นมากจนเกินไป พายมะม่วง ที่ต้องการมะม่วงที่หอม หวาน และเนื้อแน่นๆ และ วุ้นมะม่วง ที่ต้องการมะม่วงที่นุ่มละมุน หอม และหวาน ซึ่งการเลือกหรือจําแนกระดับความสุกของมะม่วงนั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีความชํานาญจึงจะสามารถบอกได้อย่างแม่นยํา ดังนั้นประเด็นดังกล่าวจึงถือเป็นเรื่องยากสำหรับกลุ่มผู้บริโภคโดยทั่วไปและกลุ่มผู้ค้าขายมือใหม่ที่ยังไม่ชำนาญในการจำแนกระดับความสุกของมะม่วง และควรจะได้หาวิธีการที่สามารถจำแนกระดับความสุขได้อย่างถูกต้อง จากการสังเกตของคณะผู้จัดทําพบว่ามะม่วงที่มีระดับความสุกแตกต่างกัน การลอยและการจมของมะม่วงในน้ำจะแตกต่างกันด้วยเพราะมีความหนาแน่นที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นผลเกี่ยวเนื่องจากความหนาแน่นเนื้อของมะม่วง, สีของเนื้อ , สีของเปลือก,ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ทั้งหมด รวมถึงสารต่าง ๆที่อยู่ภายใน เมื่อคณะผู้จัดทำไปศึกษาต่อ จึงพบว่าวิธีนี้ เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่ใช้ในการคัดแยกมะม่วงสุกและมะม่วงดิบได้เช่นกัน โดยมะม่วงดิบจะลอยน้ำและมะม่วงสุกจะจมน้ำ แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีการ อธิบายหรือศึกษาอย่างเป็นกระบวนการที่ชัดเจน ทางคณะผู้จัดทําจึงวางแผนใน การศึกษา โดยเริ่มตั้งแต่หาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นกับระดับความสุกของมะม่วงรวมถึงค่าต่างๆที่เกี่ยวข้องจากการวิเคราะห์ผลมะม่วง เพื่อนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์ที่ใช้ทำนายความสุกของมะม่วงได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ยังได้ศึกษาการหาปริมาตรของมะม่วงโดยใช้การประมาณทางคณิตศาสตร์เพื่อให้สามารถหาค่าของปริมาตรสำหรับคำนวนความหนาแน่นอย่างง่ายได้ด้วย ทางผู้จัดทำคาดหวังว่าจะได้ระบบการจําแนกความสุกของมะม่วงที่แม่นยํา สามารถทำได้ง่าย รวมถึงสามารถไป ประยุกต์ใช้กับผลไม้ชนิดอื่นๆได้อีกด้วย