การประยุกต์ใช้ซอฟแวร์ประมวลผลระบบติดตามใบหน้า เพื่อควบคุมการเคลื่อนที่ของเมาส์เคอร์เซอร์คอมพิวเตอร์ สำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐนิชา มารศรี, ปาลิตา ทองคำภา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พิชญ์พศิน อินทรศักดิ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีอิทธิพลกับชีวิตประจำวันมนุษย์เป็นอย่างมาก ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงและสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ผ่านส่วนที่เรียกว่า ระบบปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ หรือ เอชซีไอ (Human Computer Interface: HCI) ตั้งแต่อดีตเมาส์ (Mouse) ก็ถือเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างมาก ใช้ควบคู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อควบคุมตัวชี้หรือสั่งการคอมพิวเตอร์ให้ทำงานตามต้องการ ซึ่งในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้เกิดทางเลือกในการสร้างระบบปฏิสัมพันธ์รูปแบบใหม่ตัวอย่างเช่น ระบบจอภาพสัมผัส ระบบสั่งการด้วยเสียง ระบบควบคุมสั่งการด้วยดวงตา เป็นต้น
สำหรับผู้พิการที่สูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย(Lacked-in Syndrome) ) เช่น ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต(cerebrovascular accident :CVA) ประเภท โมโนพลีเจีย (Monoplegia) เฮมิพลีเจีย (Hemiplegia) เตตร้าพลีเจีย(Tetraplegia) ควอดริพลีเจีย (Quadriplegia) ผู้ป่วยที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Amyotrophic Lateral Sclerosis :ALS) รวมถึงผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง (Spinal Cord Injury) หรือระบบประสาทเสียหายอย่างรุนแรง คนกลุ่มนี้จะมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวมือ แขน หรือขา แต่ใบหน้ายังสามารถทำงานได้เป็นปกติ ซึ่งการที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวนั้น ทำให้ผู้พิการกลุ่มนี้ไม่สามารถใช้และบังคับเมาส์ได้ ระบบควบคุมสั่งการด้วยดวงตาเป็นระบบที่นำเทคโนโลยีติดตามดวงตา เข้ามาประยุกต์ใช้งานกับระบบปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ โดยหลักการทำงานของเทคโนโลยีนี้ คือ การตรวจจับการเคลื่อนที่ของดวงตาด้วยอุปกรณ์ตรวจจับดวงตา จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปประมวลผลเพื่อหาตำแหน่งที่สายตาเพ่งมอง และนำผลลัพธ์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับงานด้านต่างๆ ซึ่งอุปกรณ์ตรวจจับดวงตามีราคาค่อนข้างสูง ทางคณะผู้จัดทำจึงได้พัฒนาซอฟแวร์ประมวลผลระบบติดตามใบหน้าที่เขียนโดยภาษาpython เพื่อควบคุมการเคลื่อนที่ของเมาส์เคอร์เซอร์คอมพิวเตอร์ขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับคนกลุ่มนี้