การควบคุมโรคแอนแทรคโนสของพริกด้วยการใช้อนุภาคซิลเวอร์นาโน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กัญชนา เปรมทา, ธันย์ชนก สิงหโยธิน, พัชรพล ศรีหาเวช
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พรรทิพา วงศ์จันทร์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
พริก เป็นพืชการเกษตรที่สำคัญในหลาย ๆ จังหวัด แต่พริกเป็นพืชที่อ่อนแอต่อโรคพืชหลายชนิดโดยโรคที่เป็นปัญหามากที่สุดในการผลิตพริกของเกษตรกรคือ โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose) ซึ่งสามารถเข้าทำลายพริกได้ทุกส่วนได้แก่ ต้น ใบ ดอก และผลพริก โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโรคที่ผลพริก จะส่งผลเสียต่อผลผลิต ทำให้รายได้ของเกษตรกรลดลงอย่างมากและปัญหานี้เกษตรกรยังไม่มีวิธีแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ คณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นปัญหาจึงจะขอเสนอแนวทางในการควบคุมโรคแอนแทรคโนส (Anthracnose) ของพริกด้วยการใช้อนุภาคซิลเวอร์นาโน (Silver nanoparticles) ไปยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Colletotrichum spp. ซึ่งเป็นเชื้อราที่ก่อโรคแอนแทรคโนส โดยอนุภาคซิลเวอร์นาโน เป็นเทคโนโลยีการสังเคราะห์ซิลเวอร์ (Silver) ให้มีขนาดไม่เกิน 100 นาโนเมตร และเนื่องจากอนุภาคมีขนาดที่เล็ก ทำให้มีพื้นที่ผิวมาก จึงสามารถสัมผัสกับเชื้อราได้มากขึ้น โดยอนุภาคซิลเวอร์นาโนในช่วง 1 – 10 นาโนเมตร สามารถรบกวนการทำงานระดับเซลล์ของเชื้อรา เช่น การขนส่งสารเข้าออกจากเซลล์และการหายใจ โดยอนุโภคซิลเวอร์นาโนที่มีประจุบวก(Ag+) เมื่อสัมผัสกับผนังเซลล์ของเชื้อราจะสามารถแพร่กระจายประจุไปเกาะตามผนังเซลล์และแทรกเข้าไปภายในเซลล์ของแบคทีเรียทำให้เกิดภาวะการรวมตัวของ DNA(Condensation) ภายในเซลล์ และประจุบวกของซิลเวอร์ (Ag+) เข้าไปจับกับเอนไซม์โปรติเนส (Proteinase) ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบเมตาบอลิซึมของเซลล์ ซึ่งจะจับกับหมู่ซัลฟ์ไฮดริล (-SH) ที่มีอะตอมของซัลเฟอร์ (S) เป็นองค์ประกอบ ซึ่งมีประจุเป็นลบ (S2-) และทำให้กระบวนการทำงานของเอนไซม์หยุดการทำงาน จนกระทั่งเซลล์เชื้อราหยุดการเจริญเติบโตและเสื่อมสภาพตายในที่สุด เมื่อได้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราแล้ว ก็สามารถประยุกต์ใช้ในการเพิ่มผลผลิตของพริกให้กับเกษตรกรและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรต่อไป