ทรีอินวันโอโซน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อัญชรี แปะโพระ, อภิสรา นุตภูติพงศ์, จันทร์ธิมา โต๊ะมอง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ประสิทธิ์ สืบจักษะ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานทรีอินวันโอโซนวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องทรีอินวันโอโซน เพื่อลดสารเคมีตกค้างในผักผลไม้ และเพื่อให้น้ำและอากาศที่ปลอดภัยต่อสุขภาพมากที่สุด ในส่วนของวิธีการทดลองใช้เครื่องทรีอินวันโอโซน ลดสารเคมีตกค้างในผักผลไม้ สีของมะเขือเทศที่ล้างด้วยด่างทับทิม มีสีที่เปลี่ยนไปจากเดิมเฉลี่ย 14.33 % (สีของมะเขือเทศเดิมที่ตรวจด้วย Paraquat) และสีของมะเขือเทศที่ล้างด้วยเครื่องทรีอินวันโอโซนมีสีเปลี่ยนไปจากเดิมเฉลี่ย 3.33 % มีสีที่ใกล้เคียงสีเดิมของมะเขือเทศที่ไม่เคลืบสาร Paraquat ตรวจสอบโดยการใช้ชุดทดสอบ Paraquat ในส่วนของน้ำโดยใช้เครื่องทรีอินวันโอโซน 3 ครั้งการเกิดตะเกินเฉลี่ย31.33 % และไม่ใช้ทรีอินวันโอโซน 3 ครั้งเฉลี่ย 15.33 % พบว่าน้ำที่ไม่ผ่านเครื่องทรีอินวันโอโซนมีการตกตะกอนเล็กน้อย และน้ำที่ใช้เครื่องทรีอินวันโอโซนจะเกิดการตกตะกอนมากกว่า ตรวจสอบโดยการใช้ชุดทดสอบ Glyphosate การตกตะกอนมากกว่าน้ำที่ได้สะอาดมากกว่าการตกตะกอนเล็กน้อย และการฟอกอากาศโดยการจุดธูปเข้าไปในขวด โดยใช้เครื่องทรีอินวันโอโซน และไม่ใช้ ทรีอินวันโอโซน จากการทดลองทั้ง 3 ครั้ง พบว่าควันจากขวดที่ไม่ใช้เครื่องทรีอินวันโอโซนใช้เวลาเฉลี่ย 12.6 นาทีกว่าควันจะหมด ส่วนควันจากขวดที่ใช้เครื่องทรีอินวันโอโซน ใช้เวลาเฉลี่ย 0.28 นาที ใช้เวลาน้อยกว่าไม่ใช้เครื่องทรีอินวันโอโซน เฉลี่ย 12.32 นาที จากผลวิจัยพบว่า การใช้เครื่องทรีอินวันโอโซนสามารถกำจัดสารเคมีตกค้างในผักผลไม้ได้เยอะกว่าด่างทับทิม ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ใช้เครื่องทรีอินวันโอโซน สามารถบำบัดน้ำเสียเป็นน้ำดีได้ และสามารถเปลี่ยนอากาศให้บริสุทธิ์ โดยใช้เครื่องทรีอินวันโอโซนในการฟอกใช้เวลาได้น้อยมากกว่าปกติ