การนำกากตะกอนน้ำเสียจากระบบบำบัดน้ำเสียเป็นวัสดุในการผลิตปุ๋ยหมักร่วมกับเศษผัก ขี้เถ้าและกากกาแฟ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณิชา ศรัณย์วิริยะพงศ์, ลภัสรดา ประยูรไทย, พิมพ์ทรัพย์ ศรีเมืองธน

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สุชญา ศรีอุดม

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในปัจจุบันอุตสาหกรรมในประเทศไทยมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วเพื่อรองรับกระบวนการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการในชีวิตประจาวัน เเต่ผลกระทบที่ตามมา คือ ปัญหาทางสิ่งเเวดล้อมทั้ง อากาศ ขยะ เเละน้าเสีย เป็นต้น เเละปัญหาหลักของโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่คือน้าเสีย ซึ่งการบาบัดน้าเสียในทุกระบบจะใช้จุลินทรีย์เพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้าเสีย เเละเพื่อใช้เป็นอาหารของจุลินทรีย์จึงมีกากตะกอนออกมาในปริมาณมากเเละต้องนาไปกาจัดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ทั้งนี้การกาจัดกากตะกอนสามารถทาได้หลายวิธี หนึ่งในนั้นคือ การทาปุ๋ยหมัก เนื่องจากในกากตะกอนประกอบด้วยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชที่สามารถนาไปปรับปรุงสภาพดินเเละเป็นอาหารพืชได้ ทางคณะผู้จัดทาจึงมีเเนวทางในการทาปุ๋ยหมักร่วมจากกากตะกอนน้าเสีย เศษผัก ขี้เถ้า และกากกาเเฟ เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของปุ๋ยหมักระหว่างชุดการทดลองที่ 1 กากตะกอน:เศษผัก:กากกาเเฟ ชุดการทดลองที่ 2 กากตะกอน:เศษผัก:ขี้เถ้า และ ชุดการทดลองที่ 3 กากตะกอน:กากกาเเฟ:ขี้เถ้า โดยศึกษาลักษณะทางกายภาพ คือ การวัดค่าความชื้นโดยวิธี oven drying 105 องศาเซลเซียส และศึกษาลักษณะทางเคมี คือ การตรวจสอบคุณภาพของปุ๋ยด้วยการวัดค่า pH, การวัดปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดในปุ๋ยโดยวิธี Kjeldahl method, การวัดปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมดโดยใช้วิธี Specctrophotometric Molybdovanadophosphate method, การวัดปริมาณโพแทสเซียมทั้งหมดโดยใช้วิธี Flame Photometric method, การวัดปริมาณอินทรีย์คาร์บอนโดยใช้วิธี Walkley and Black Method เพื่อศึกษาการเปลี่ยนเเปลงลักษณะทางกายภาพและเคมีของปุ๋ยหมักแต่ละชนิดเเละศึกษาคุณภาพปุ๋ยหมักเพื่อนามาเปรียบเทียบความเหมาะสมในการนาไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้