แท่งเชื้อไฟกลิ่นหอมจากชีวมวลเหลือทิ้งสำหรับปรุงอาหารขณะตั้งแคมป์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อามาน ภูมิบุตร, ฟุรกอน ปูเต๊ะ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
รัตนา จริยาบูรณ์, ประวิทย์ คงจันทร์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบันการผลิตความร้อนสามารถผลิตได้จากแหล่งกำเนิดอันได้แก่ถ่าน ไม้ แก๊ซหุงต้ม(LPG) ไฟฟ้า เป็นต้น โดยรัฐบาลไทยส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนแทนการใช้พลังงานฟอสซิล ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579 (AEDP 2015) (กระทรวงพลังงาน, 2561) ให้ เพิ่มสัดส่วนของพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกเป็นร้อยละ 30 ดังนั้นจึงการศึกษาวิจัยเพื่อผลิตพลังงาน ทางเลือกใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ทดแทนพลังงานจากฟอสซิลมากขึ้น
ชีวมวลอัดเม็ดหรือเชื้อเพลิงอัดเม็ด( Biomass Fuel Pellets ) เป็นพลังทดแทนชนิดหนึ่ง ที่มาจากการนำเอาเศษวัสดุธรรมชาติต่าง ๆ เช่น เหง้ามันสำปะหลัง ซังข้าวโพด ขี้เลื่อยที่ได้จากอุตสาหกรรมและเศษไม้ ที่มาขึ้นรูปโดยการอัดเป็นเม็ดหรือแท่ง เพื่อเพิ่มความหนาแน่นและลดความชื้นของวัตถุดิบ ทำให้ง่ายต่อการควบคุมปริมาณน้ำหนักและขนาดให้มีความสม่ำเสมอ ทำให้ได้เชื้อเพลิงที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับไม้ ทำให้ประสิทธิภาพการเผาไหม้เชื้อเพลิงสูงขึ้น ซึ่งคุณสมบัติของชีวมวลอัดเม็ดตามมาตรฐานของยุโรปนั้น จะมีค่าความร้อนอยู่ที่ 3800-4300 Kcal/kg ความหนาแน่น อยู่ช่วงระหว่าง 600-700 kg/m3 ค่าความชื้นไม่ต่ำกว่า 10% และ มีขี้เถ้าไม่เกิน 3%
การใช้ประโยชน์จากพลังงานชีวมวล ( ชีวมวลอัดแท่ง ) สามารถใช้ได้ทั้งในรูปของพลังงานความร้อน ไอน้ำ หรือผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า ชีวมวลในประเทศไทยจึงเป็นแหล่งเชื้อเพลิงราคาถูก เนื่องจากเป็นวัตถุดิบมีอยู่ทั่วไปในทุกพื้นที่ของประเทศ( เป็นประเทศเกษตรกรรม ) การนำชีวมวลมาใช้เป็นเชื้อเพลิง จึงช่วยลดรายจ่าย ภายในประเทศในการนำเข้าเชื้อเพลิง นอกจากนี้การผลิตพลังงานจากชีวมวลด้วยกระบวนการและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ยังไม่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษที่กระทบต่อสังคมชุมชนที่รุนแรงเหมือนพลังงานจากฟอสซิล
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศผจญภัย ได้แก่ การเดินป่าและการแคมป์ปิ้ง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น(Outdoor Foundation,2017) เชื้อเพลิงที่ใช้ในการเตรียมอาหารขณะการตั้งแคมป์แบบปัจจุบันที่เป็นที่นิยมได้แก่ การใช้เตาแก๊ซพกพาและไฟแช็ค การใช้เชื้อเพลิงอัดแท่งจะเป็นการทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอีกทั้งยังลดปัญหาการก่อไฟที่ยากลำบากเนื่องจากความชื้นที่มีอยู่ในเศษกิ่งไม้และใบไม้ในป่า ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำจึงมีความสนใจในการผลิตแท่งเชื้อเพลิงที่สามารถติดไฟได้ด้วยการเสียดสีเพื่อช่วยให้การก่อไฟง่ายขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานและใส่กลิ่นหอมของสมุนไพรเพื่อทำให้อาหารที่ปิ้งย่างมีกลิ่นหอมอีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการแคมป์ไฟ