การศึกษาความเป็นไปได้จากการพัฒนาหินเทียมจากขยะโฟมและพลาสติกมาพัฒนาเป็นปะการังเทียม
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นันท์นภัส ขุนเพชร, อุษณิษา หีมมิหน๊ะ, รพีนภันต์ ชยันต์เกียรติ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จันทร์ทิพย์ จุลศักดิ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้จากการพัฒนาหินเทียมจากขยะโฟมและพลาสติกมาพัฒนาเป็นปะการังเทียม โดยได้มีการศึกษาว่าการทำปะการังเทียม จากปูน ท่อพีวีซี และอะลูมิเนียม หรือพวกพลาสติกที่เป็นใย แผงกันแดด สายรัด ว่ามีผลดีผลเสียอย่างไร และวัสดุไหนที่พบว่าปะการังสามารถลงเกาะได้ดี และอาจเกิดปัญหาคลื่นลมเพราะนำ้หนักโดยจะแก้ไขปัญหาโดยการเพิ่มความหนาแน่นของวัสดุให้ใกล้เคียงกับหิน และศึกษาโครงสร้างที่เหมาะสมที่ทำให้ประการังสามารถลงเกาะได้ และศึกษาเรื่องความเป็นพิษด้วยวิธี cytotoxicity และศึกษาปริมาณโฟมที่ใช้
ในปัจจุบันปะการังทั่วโลกถูกทำลายไปมากมายทุกปี เนื่องมาจากการทำประมง การอนุรักษ์ที่ขาดความรู้ความเข้าใจ และการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก ซึ่งส่งผลให้ปะการังฟอกขาวและตายลง ส่งผลเป็นอย่างมากต่อการขยายพันธุ์ของสัตว์ทะเลด้วยเหตุนี้ทำให้กลุ่มของพวกเรามีแนวความคิดเรื่องปะการังเทียมขึ้น และต้องการทำโครงงานนี้ขึ้นมาโดยมีเป้าหมาย คือ เพื่อเพิ่มแหล่งที่อยู่อาศัยแหล่งอาหาร และแหล่งป้องกันตัวของสิ่งมีชีวิต และทดแทนปะการังที่ถูกทำลายไปนอกจากนี้ ปะการังเทียมยังเป็นจุดเริ่มต้นที่ช่วยให้ปะการังจริงสามารถก่อตัวขึ้นมาใหม่ และแพร่ขยายออกไป สร้างความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ใต้ท้องทะเลให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ได้อีกครั้ง