การผลิตแผงยาย่อยลายได้จากการสกัดคาร์บอกซีเมธิลเซลลูโลสของใบสับปะรด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปนัดดา สิงห์งอย, บุณยานุช ปัญญารส
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วิริยา ตาสี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัญหาขยะพลาสติกในปัจจุบันถือเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบในด้านต่าง ๆ เช่น ผลกระทบในด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เนี่องจากเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อแบคทีเรียและพาหะโรคต่าง ๆ ทั้งนี้มีจำนวนผู้ป่วยและผู้ใช้ยาที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือรวมไปถึงโรคอื่น ๆ จึงทำให้มีการใช้ยาในการรักษาโรคที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการใช้ยาที่เพิ่มมากขึ้นนี้มีแผงยาที่ใช้บรรจุยาเป็นพลาสติกปิโตเลียม ซึ่งหากมีการใช้งานแล้วจะไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้จึงถือเป็นขยะพลาสติกที่ส่งผลกระทบในด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้ผู้จัดทำโครงงานได้เล็งเห็นว่าหากสามารถพัฒนาแผงยาให้มีความสามารถในการย่อยสลายได้ทางชีวภาพนั้นก็จะเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก และในปัจจุบันมีการผลิตพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้จากวัสดุทางการเกษตร ซึ่งมีคุณสมบัติในการย่อยสลายได้เร็วขึ้นกว่าพลาสติกที่ถูกสังเคราะห์มาจากสารปิโตรเคมี โดยพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้นั้นสามารถทำได้โดยการใช้คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสที่สังเคราะห์ได้จากเซลลูโลสของพืชที่มีเส้นใย
สับปะรดถือเป็นผลผลิตทางการเกษตรของ ตำบลน้ำหมาน อำเภอเมือง จังหวัดเลย ที่มีการส่งออกสู่ตลาดในปี 2566 ที่สูงเป็นอันดับต้น ๆ ของผลผลิตทางการเกษตรโดยมีพื้นที่ในการปลูกทั้งสิ้นจำนวน 610 ไร่ ซึ่งทำรายได้ต่อปีสูงถึง 30,500,000 บาท การส่งออกสับปะรดที่มากนี้ทำให้มีขยะทางการเกษตรคือใบสับปะรด
คณะผู้จัดทำโครงงานจึงได้แนวคิดในการนำเอาใบสับปะรดมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยสับปะรดเป็นพืชที่มีเส้นใยสูงถึง 71.25 % จึงสามารถนำมาสกัดเซลลูโลสเพื่อสังเคราะห์คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสและนำมาทำเป็นแผงยาที่เป็นพลาสติกชีวภาพและมีความสามารถในการย่อยสลายทางชีวภาพได้ โดยการหาอัตราส่วนผสมระหว่างโพลีไวนิลแอลกอฮอลล์และซอลบิทัล ซึ่งจะขึ้นรูปโดยการอบให้ความร้อนและแปรรูปเป็นแผงยาย่อยสลายได้
คำสำคัญ : แผงยา ย่อยสลาย ใบสับปะรด คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส