การเปรียบเทียบรูปแบบการแตกแยกของพื้นที่ป่าในจังหวัดนครศรีธรรมราช
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บุษกร พฤกษารัตน์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ซัลวาณีย์ เจ๊ะมะหมัด
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ป่าไม้ทั่วโลกกำลังประสบปัญหาจากการตัดไม้ทำลายป่า และการแตกแยกของป่า การสูญเสียป่าไม้และการแตกแยกของป่าส่งผลให้ถิ่นที่อยู่ของสัตว์ป่ามีพื้นที่ลดลง การแยกกันของถิ่นที่อยู่ และกลุ่มประชากรสัตว์ป่ามีขนาดเล็กลง การสูญเสียพื้นที่ป่าส่งผลอย่างมากต่อความหลากหลายของสัตว์และพืช และระบบความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังส่งผลโดยตรงต่อความอุดมสมบูรณ์ ความหนาแน่น และการกระจายตัวของสัตว์ป่า เนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับการแตกแยกของป่ามีอยู่น้อย ผู้จัดทำจึงนำข้อมูลมาสัมพันธ์กับข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อสร้างแผนที่และเก็บข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการแตกแยกของป่าจ.นครศรีธรรมราช โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาข้อมูลป่าไม้ต่อไปได้ จากการศึกษารูปแบบการแตกแยกของพื้นที่ป่าในจังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้หลักการวิเคราะห์รูปแบบทางสัณฐานวิทยา
โดยใช้โปรแกรม ArcGIS และ GUIDOS พบว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชในปีพ.ศ.2535 มีพื้นที่ป่าเหลือ 80.6% ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัด ในปี พ.ศ.2552 มีพื้นที่ป่าเหลือเพียง 23.7% ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัด ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอนุรักษ์ จะเห็นว่าในช่วงเวลา 18 ปี พื้นที่ป่าลดลง 33.2% และรูปแบบการกระจายตัวของป่ามีการแตกแยกมากขึ้นเมื่อขนาดความกว้างขอบป่าเพิ่มขึ้น ซึ่งแผนที่แสดงการแตกแยกของพื้นที่ป่าสามารถใช้ในการวางแผนการจัดการและการอนุรักษ์ เช่น ใช้ในการจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่คุ้มครอง การจัดสรรงบประมาณเพื่อการอนุรักษ์ และการประเมินคุณภาพป่า