แอปพลิเคชันจำแนกโรคหัวใจโดยอาศัยเสียงการเต้นของหัวใจด้วยการเรียนรู้เชิงลึก

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

นภสร โตสุโขวงศ์, พีรบูรณ์ เคียงธนสมบัติ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สิทธิโชค โสมอ่ำ, ธวัชชัย สุดใจ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

จากสถิติในปี ค.ศ. 2019 มีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจ 17.9 ล้านคน ซึ่งเป็นโรคที่เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่ง โรคหัวใจเป็นภัยเงียบซึ่งมีอาการเบื้องต้นที่ไม่ชัดเจน ซึ่งสามารถส่งผลต่อการเสียชีวิตเฉียบพลันหรือได้รับการวินิจฉัยในระยะที่รุนแรงแล้ว หากผู้ป่วยได้รับการตรวจพบและรักษาตั้งแต่ระยะเบื้องต้นจะสามารถลดผลข้างเคียงของโรคหรือแม้กระทั่งรักษาให้หายได้ อย่างไรก็ตาม โดยส่วนมากพบว่าคนไทยมีโอกาสที่จะไปเข้าตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลไม่บ่อยนัก เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจส่วนบุคคล ครอบครัว หรือสังคม ทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่อาจเป็นโรคดังกล่าวโดยไม่รู้ตัว จากปัญหาข้างต้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอวิธีการวิเคราะห์ความผิดปกติของหัวใจด้วยเสียงการเต้นของหัวใจผ่านอุปกรณ์หูฟังแพทย์ตัวต้นแบบที่เป็นระบบไร้สายของงานวิจัยในแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน ซึ่งสามารถจำแนกภาพด้วยโครงข่ายประสาทเทียมการเรียนรู้เชิงลึกแบบคอนโวลูชัน โดยสามารถจำแนกได้สี่โรค ได้แก่ โรคลิ้นหัวใจไมทรัลตีบ โรคลิ้นหัวใจหย่อน โรคลิ้นหัวใจไมทรัลรั่ว โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ โดยสอนด้วยเสียงหัวใจเต้นจำนวนโรคละ 200 ไฟล์ ฝึกสอนจำนวน 200 ครั้ง พบว่ามีความแม่นยำสูงถึง 99.47% ต่อจากนั้นจะมีการนำแอปพลิเคชันไปทดสอบภาคสนามที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เพื่อทดสอบหาประสิทธิภาพที่แท้จริงของแอปพลิเคชันคัดกรองโรคหัวใจและหูฟังแพทย์ตัวต้นแบบของงานวิจัย แอปพลิเคชันตัวนี้จะช่วยให้การตรวจสุขภาพโดยเฉพาะโรคหัวใจเป็นเรื่องที่สะดวกสะบายและเข้าถึงได้โดยง่ายจากประชาชน