การเพิ่มประสิทธิภาพคาร์บอนกัมมันต์จากมูลโคเพื่อการดูดซับไนเตรท

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ฐิติวรดา พรมภาพ, พิมพ์มาดา จ๊อดดวงจันทร์, จิรัชญา จรเอ้กา

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

เพื่อนจิต สิงห์เผ่น, สุกัญญา จันทรัตน์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ไนเตรท (Nitrate, NO3) เป็นสารเคมีตัวสุดท้ายในวัฎจักรไนโตรเจน เกิดจากการที่แบคทีเรียย่อยสลาย ไนไตรท์ โดยการบริโภคน้ำและอาหารที่มีปริมาณไนเตรทปนเปื้อนอยู่สูงก่อให้เกิดอันตรายจากโรคเม็ดฮีโมโกลบิเมีย (Methemoglobinemia) ไนเตรทและไนไตรท์มีส่วนร่วมในการสร้างสารประกอบคาร์สิโนเจน ซึ่งสามารถชักนำให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหารในคน โครงงานนี้จึงศึกษาความเข้มข้นและอัตราส่วนของซิงค์คลอไรด์ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ และกรดฟอสฟอริกที่เหมาะสมในการกระตุ้นคาร์บอนกัมมันต์จากมูลโคเพื่อการดูดซับไนเตรท-ไนโตรเจนที่ปนเปื้อนในน้ำเสียสังเคราะห์ ผลการทดลองพบว่า คาร์บอนกัมมันต์ที่กระตุ้นด้วยซิงค์คลอไรด์ความเข้มข้น 25% อัตราส่วน 1:1 มีประสิทธิภาพในการดูดซับไนเตรท-ไนโตรเจนสูงที่สุด pH ที่ 7 เหมาะสมในการดูดซับไนเตรทมากที่สุด การดูดซับเข้าสู่สมดุลเกิดขึ้นในชั่วโมงที่ 4 และ 5 เปอร์เซ็นต์การดูดซับที่ 83.18 และ 84.62 ตามลำดับ สำหรับสมดุลการดูดซับที่ความเข้มข้นของสารละลายไนเตรท 20 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นความเข้มข้นการดูดซับเข้าสู่สมดุลร้อยละ 68.54 และการดูดซับมีแนวโน้มลดลงเมื่อความเข้มข้นของสารละลายไนเตรทเพิ่มขึ้น ดังนั้นคาร์บอนกัมมันต์จากมูลโคจึงเป็นวัสดุดูดซับไนเตรท-ไนโตรเจนที่ปนเปื้อนในน้ำได้อย่างมีปะสิทธิภาพ