การเปรียบเทียบสารสกัดสีย้อมไวแสงจากพืช สำหรับการประดิษฐ์เซลล์แสงอาทิษย์สีย้อมไวแสง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัณฑิตา พิศวงปราการ, มฆวัน สาละ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ยุวดี สุวรรณ์, นภาพร เทียมทะนง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อ
โครงงานนี้ศึกษาเกี่ยวกับการสกัดสีย้อมไวแสงจากพืชเพื่อนำมาใช้ในการประดิษฐ์เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง (DSSCs) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความยาวคลื่นของสารสกัดจากเหง้าขมิ้น ผลผักปลัง ผลมะเขือเทศ ดอกอัญชัน และใบเตย ที่จะนำมาประดิษฐ์เซลล์แสงอาทิตย์ และเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์สีย้อมไวแสงจากพืชที่ประดิษฐ์ขึ้น โดยทำการสกัดสีย้อมจากพืชทั้ง 5 ชนิด จากนั้นนำมาวัดค่าความยาวคลื่นด้วยเครื่อง UV-visible spectrophotometer พบว่าสารสกัดสีย้อมไวแสงจากพืชที่มีความยาวคลื่นในการดูดกลืนแสงกว้างที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ใบเตยมีค่าความยาวคลื่นในการดูดกลืนแสงกว้างที่สุด คือ 400-800 นาโนเมตร รองลงมาคือ ผลผักปลัง มีค่าความยาวคลื่นในการดูดกลืนแสง 400-700 นาโนเมตร และดอกอัญชันมีค่าความยาวคลื่นในการดูดกลืนแสงเป็นลำดับที่ 3 คือ 500-700 นาโนเมตร ตามลำดับ นำสารสกัดสีย้อมไวแสงทั้ง 3 ชนิดมาประดิษฐ์เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง ทำการวัดค่าประสิทธิภาพการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า ด้วยเครื่อง Solar simulator โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้ากับสีย้อมมาตราฐานชนิด N719 จากการทดลองพบว่า เซลล์แสงอาทิตย์ที่ประดิษฐ์จากสีย้อมของอัญชันให้ค่าประสิทธิภาพดีที่สุด คือ 0.25% ซึ่งค่าที่ได้มีความใกล้เคียงกับค่าประสิทธิภาพของสีย้อมมาตรฐานชนิด N719 ซึ่งวัดค่าได้ 2.25%
คำสำคัญ : เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง, สีย้อมไวแสงจากพืช