การประดิษฐ์เครื่องเลเซอร์ไล่นกพิราบในแบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปฐมภู คณาภรณ์ธาดา, วิศวะ สายลังกา, วัชพล วงศ์อภิญญา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ชิตพงษ์ เหนือเกาะหวาย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
นกพิราบ เป็นนกที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสถานที่และผู้คน ซึ่งเป็นนกที่แพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา ฝูงนกพิราบชอบก่อความรบกวน และความเสียหายแก่ผู้คน นกพิราบเป็นปัญหาที่ทั่วโลกประสบปัญหานี้เช่นกัน ในขณะเดียวกัน ทุกประเทศก็ต้องมีสนามบินสำหรับการคมนาคมทางอากาศ หากนกพิราบบินชนเครื่องบิน หรือบินเข้าบริเวณเครื่องยนต์ของเครื่องบิน ก็ย่อมเกิดความเสียหายของทรัพย์สินของเจ้าของเครื่องบินในการซ่อมแซม และอาจเกิดการเสียชีวิตของผู้โดยสาร หรือผู้คนรอบข้างได้
ผลกระทบของนกพิราบที่เข้าอาศัย และหากินภายในโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี ได้แก่ การทำรังบริเวณอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งอาจทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรซึ่งอาจเป็นสาเหตุของไฟฟ้าดับหรืออัคคีภัยได้, มูลของนกพิราบที่ทำให้เกิดความสกปรกของสถานที่นั้น และเป็นพาหะของโรคต่างๆ เช่น โรคปอดอักเสบ เป็นต้น ดังนั้นการสร้างผลกระทบต่อนกพิราบจึงสำคัญอย่างยิ่ง
ในการขับไล่นกพิราบมีหลายวิธี เช่น การใช้ตาข่าย , การจุดประทัด , การใช้แสงเลเซอร์ เป็นต้น แต่การใช้ตาข่ายนั้นนกสามารถเจาะตาข่ายเป็นรูที่ใหญ่ และเข้าไปภายในตาข่ายได้ ทำให้สถานที่นั้นถูกบดบังทัศนียภาพของสถานที่นั้น การจุดประทัด โดยปกตินกจะไวต่อเสียงที่ค่อนข้างดัง แต่ว่าการจุดประทัด เป็นอันตรายต่อผู้จุดประทัด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการสูญเสียอวัยวะบางส่วนของร่างกายหรือเสียชีวิตได้ ซึ่งการใช้แสงเลเซอร์นั้นเป็นไปได้เนื่องจากแสงเลเซอร์อยู่ในช่วงความถี่ของคลื่นแสงที่ 450–650 นาโนเมตร เป็นช่วงความยาวของคลื่นแสงที่นกพิราบสามารถตอบสนองในการมองเห็นของนกพิราบ ในช่วงความยาวคลื่นแสงที่ 454-514 นาโนเมตร เป็นช่วงความยาวของคลื่นแสงที่ปลอดภัยต่อนกพิราบ และมนุษย์ ซึ่งเป็นช่วงของแสงเลเซอร์สีน้ำเงิน-เขียว แต่แสงเลเซอร์สีน้ำเงินสามารถสร้างความร้อนได้รวดเร็ว ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อการยิงแสงเลเซอร์ในระยะทางที่ใกล้ ซึ่งการใช้ แสงเลเซอร์สีเขียวนั้นจะปลอดภัยมากที่สุดทั้งต่อมนุษย์และนกพิราบ
ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำสนใจที่จะประดิษฐ์เครื่องเลเซอร์ไล่นกพิราบและทดสอบประสิทธิภาพ โดยใช้กล้องตรวจจับสีและวัตถุ ในการทำงานแบบอัตโนมัติ เนื่องจากกล้องจะสามารถตรวจสีและการเคลื่อนไหวของนกพิราบได้ และใช้โทรศัพท์มือถือซึ่งจะทำเป็นแอปพลิเคชั่น ในการทำงานแบบกึ่งอัตโนมัติ เพื่อลดอัตราการเกิดโรคที่เกิดจากนกพิราบและลดอัตราการทำความสะอาดมูลของนกพิราบในสถานที่นั้นๆ