การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพรที่มีผลต่อการกำจัดไรไข่ปลาในเห็ดบด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ศุภาพิชญ์ ชินคีรี, สุนันทา แดนดงเมือง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ณิชากร สงวนกลิ่น
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ขั้นตอนดำเนินการวิจัย
การเตรียมการทดลอง
1.1 การเตรียมเส้นใยเห็ดบด (L. squarrosulus) นำหัวเชื้อเห็ดบดมาทำการเพาะเลี้ยง 2 วิธี คือ
1.1.1 นำเส้นใยเห็ดบด มาทำการเพาะบนอาหาร Potato Dextrose Agar (PDA)
ในจานเพาะเชื้อเพื่อใช้เป็นอาหารของไรไข่ปลาที่ใช้ในการทดสอบ โดยใช้ cork borer ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตรเจาะวุ้นที่มีเส้นใยขึ้นอยู่เต็ม ไปวางคว่ำลงในจานเพาะเชื้อที่มีอาหารPDA และนำไปบ่มที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส
1.1.2 นำเชื้อเห็ดบด มาเพาะในขวดแก้วฝาเกลียวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร
สูง 8.5 เซนติเมตร เพื่อใช้เป็นอาหารสำหรับการเตรียมไรไข่ปลาที่ใช้ทดสอบ โดยใส่ส่วนผสมของวัสดุเพาะที่ใช้ในการเพาะเห็ด ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากฟาร์มเห็ดเกษตรกร อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้มีความสูงประมาณ 3 เซนติเมตรจากก้นขวด นำไปนึ่งฆ่าเชื้อแล้วเขี่ยเส้นใยเห็ดบด ลงไป บ่มที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 สัปดาห์
1.2 การเตรียมไรไข่ปลา (L. perniciosus) สำหรับใช้ทดสอบทางชีววิทยา
นำไรไข่ปลาจากก้อนเห็ดที่มีไรไข่ปลาระบาดอยู่จากฟาร์ม บ้านโนนน้ำเกลี้ยง อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ใส่ลงในขวดแก้วที่มีเชื้อเห็ดบด (จากข้อ 1.1.2) จากนั้นนำขวดเลี้ยงไรไปบ่มที่อุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียส
1.3 การสกัดสารจากพืชสมุนไพร
นำพืชสมุนไพรได้แก่ พริกไทยดำ ตะไคร้หอม ข่าแก่ และตะไคร้บ้าน มาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปสกัดด้วยเครื่องสกัดน้ำมันโดยวิธีการกลั่นด้วยน้ำ (water distillation) โดยเติมน้ำให้พอท่วมต้มจนเดือดเป็นเวลา 3 ชั่วโมง ไขส่วนที่เป็นน้ำมันหอมระเหยเก็บไว้ในภาชนะทึบแสง ในตู้เย็นอุณหภูมิ 12Cเพื่อใช้ในการทดสอบกับไรต่อไป
1.4 วิธีการเลี้ยงไร
เก็บรวบรวมไรไข่ปลา, Luciaphorus perniciosus Rack จากก้อนเชื้อเห็ดบดจากฟาร์มเกษตรกรบ้านโนนน้ำเกลี้ยง อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์โดยเขี่ยไรไข่ปลาระยะก่อนท้องในหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่าง นำไรไข่ปลาในรุ่นที่ 2-3 ระยะก่อนท้องมาทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพรต่อไป
การทดสอบทางชีววิทยา
2.1 ทดสอบความสามารถของสารสกัดสมุนไพรในการทำลายไรไข่ปลา
2.1.1 ทดสอบความสามารถของสารสกัดสมุนไพรได้แก่ พริกไทยดำ ตะไคร้บ้าน และข่าแก่ ในการทำลายไรไข่ปลานำสารสกัดสมุนไพรซึ่งเตรียมไว้มาทดสอบ โดยการฉีดพ่นด้วย foggy ลงบนจานเพาะเชื้อที่บรรจุอาหาร PDA ซึ่งมีเส้นใยเห็ดเจริญเต็มบนผิวหน้าเห็ดบดจากนั้นจึงนำไรไข่ปลาเพศเมียซึ่งออกจากท้องแม่ประมาณ 1 วัน จำนวน100 ตัววางบนจานเพาะเชื้อที่บรรจุอาหาร PDA และนำจานเพาะเชื้อที่บรรจุอาหารทั้งหมดไปบ่มในที่มืดที่อุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียส บันทึกการตายของไรไข่ปลาทุกวันเป็นเวลา 5 วัน ชุดควบคุมใช้อาหารเหลว TSB และสารฆ่าไร (propargite) ทำการทดลอง 3 ซ้ำ และคัดเลือกสมุนไพรที่ดีที่สุดต่อการทำลายไรไข่ปลาใช้ในการทดลองต่อไป
2.1.2 ทดสอบความเข้มข้นของสารสกัดสมุนไพรต่อการทำลายไรไข่ปลาที่ผ่านการ
คัดเลือกจากข้อ 2.1.1 โดยใช้ที่ระดับความเข้มข้น 0, 1, 2,4 และ 6 มาทดสอบโดยการฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรปริมาตร 500 ไมโครลิตร บนจานเพาะเชื้อที่บรรจุอาหาร PDA ที่มีเส้นใยเห็ดเจริญเต็มผิวหน้าอาหารนำไรเพศเมียที่ออกจากท้องแม่อายุประมาณ 1 วัน จำนวน 100 ตัววางบนอาหาร PDA และนำจานเพาะเชื้อทั้งหมดไปบ่มในที่มืดที่อุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียส บันทึกการตายของไรไข่ปลาทุกวันเป็นเวลา 5 วัน ชุดควบคุมใช้สารฆ่าไร (propargite) ทำการทดลอง 3 ซ้ำ
ทดสอบผลของน้ำสกัดจากพืชสมุนไพรจากพริกไทยดำ ตะไคร้บ้าน และข่าแก่ ที่ความเข้มข้น
1.5% ต่อเชื้อเห็ดบด เปรียบเทียบกับสารฆ่าไร (triazophos) อัตราแนะนำ (กรมวิชาการเกษตร, 2553) และสองเท่าของอัตราแนะนำ (0.15 และ 0.30% ตามลำดับ) โดยวิธี paper discdiffusion เหมือนกับข้อ 1 สังเกตการเจริญของเชื้อเห็ดเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (น้ำกลั่น)
การทดสอบประสิทธิภาพของน้ำสกัดจากพืชสมุนไพรต่อไรไข่ปลา ในบ้านโนนน้ำเกลี้ยง อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
การทดสอบประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากพริกไทยดำ ตะไคร้บ้าน และข่าแก่ ชนิด
ที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าไรไข่ปลามากที่สุด มาทดสอบประสิทธิภาพในการฆ่าไรไข่ปลาในบ้านโนนน้ำเกลี้ยง อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์โดยวิธีการฉีดพ่นโดยตรงลงบนก้อนเชื้อ ใช้น้ำมันหอมระเหยจากพืชความเข้มข้น 50% ใน Tween-20 ปริมาตร 15 cc ต่อ น้ำ 1 L ทำการฉีดพ่น 2 ครั้ง คือ 1 และ 2 สัปดาห์หลังจากการเปิดดอก เปรียบเทียบกับโรงที่มีไรไข่ปลาระบาดแต่ไม่มีการฉีดพ่นสาร และโรงเห็ดที่ไม่มีการระบาดของไรไข่ปลาทำการสุ่มนับจำนวนไข่และตัวเต็มวัยของไรไข่ปลา ที่อยู่บนถุงพลาสติก โดยการบันทึกปริมาณไรไข่ปลาต่อพื้นที่ถุงพลาสติก 1 cm2 สุ่มถุงละ 6 จุด ต่อก้อน จำนวน 30 ก้อน (จากก้อนเชื้อทั้งหมด 100 ก้อนต่อ การทดลอง) บันทึกผลทุกๆ สัปดาห์ เป็นเวลาทั้งหมด 10 สัปดาห์