การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการสกัดเจลาตินจากเกล็ดปลาทับทิม

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

นารีรัตน์ เพิ่มวัฒนา

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

จิรพร กิติยายาม

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

อุตสาหกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลามีเพิ่มมากขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภค แต่ในขณะเดียวกันของเหลือทิ้งจากการแปรรูปที่ไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะเกล็ดปลา เมื่อมีการแปรรูปมาก ปริมาณเกล็ดปลาที่เหลือทิ้งจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น ถ้าไม่นำไปกำจัดอย่างถูกวิธีก็จะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมได้ ด้วยปัญหาดังกล่าวจึงต้องการนำเกล็ดปลามาประยุกต์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้มากกว่าการนำไปทำเป็นเครื่องประดับทั่วไป และจากการศึกษาพบว่าเกล็ดปลามีองค์ประกอบของโปรตีนที่สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกลายเป็นเจลาตินได้สูงถึงร้อยละ50.4 และเนื่องจากวิธีการสกัดจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของปลา ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาสภาวะที่จะทำให้สกัดเจลาตินจากเกล็ดปลาได้ปริมาณมากและมีคุณภาพดีที่สุด โดยจะนำตัวอย่างเกล็ดปลาทับทิมมาสกัดที่อุณหภูมิ 60,70,80 องศาเซลเซียส และใช้เวลาการสกัดที่แตกต่างกันคือ 30 นาที 1ชั่วโมง 2ชั่วโมง ตามลำดับ แล้วนำเจลาตินที่ได้มาตรวจสอบคุณภาพเปรียบเทียบกับเจลาตินทางการค้าทั่วไป ทั้งนี้เพื่อให้เกล็ดปลาถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเจลาตินจากเกล็ดปลาทับทิมนี้จะเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภคต่อไป