ประสิธิภาพของสารโคแอกกูแลนต์และโคแอกูแลนต์เอดจากผงชีวะมวล

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

อภิญญา แซ่หยี่, อรนุช อังคณิต

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สุกัลยา วงค์ใหญ่

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา"

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

น้ำเป็นส่วนประกอบที่พบมากถึง 3 ใน 4 ส่วนของพื้นโลก ถ้าหากโลกของเราปราศจากน้ำ สิ่งมีชีวิตต่างๆ จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เพราะน้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตเพื่อใช้ในการอุปโภคและบริโภค และน้ำที่สะอาดต้องเป็นน้ำที่ปราศจากสี กลิ่น รส และพวกกลุ่มจุลินทรีย์ต่างๆ ซึ่งแหล่งน้ำโดยทั่วไปมี 2 แหล่ง คือ แหล่งน้ำผิวดิน และแหล่งน้ำใต้ดิน โดยเฉพาะน้ำผิวดินจะมีสิ่งเจือปนต่างๆที่ทำให้น้ำไม่สะอาดเพียงพอ สำหรับการอุปโภคหรือบริโภค เนื่องจากมีสีหรือความขุ่นมากเกินไป ดังนั้นก่อนที่จะนำแหล่งน้ำดังกล่าวมาใช้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำจัดสิ่งเจือปนต่างๆ เหล่านั้นให้หมดไปหรือให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งกระบวนการของการตกตะกอนแขวนลอยเพื่อลดความขุ่นของน้ำ เรียกว่า โคแอกกูเลชั่น (coagulation) เนื่องจากความขุ่นหรือสารแขวนลอยที่มีขนาดเล็กที่เรียกว่า อนุภาคแขวนลอย ไม่สามารถตกตะกอนได้ด้วยตัวเองในเวลาที่จำกัด ทำให้คงสภาพแขวนลอยในน้ำ หรือเรียกว่ามีเสถียรภาพในน้ำ จึงทำให้ต้องใช้สารเคมีเป็นตัวช่วยในการตกตะกอน ซึ่งสารเคมีหลักที่ใช้ในกระบวนการโคแอกกูเลชั่น เรียกว่า โคแอกกูแลนด์ (Coagulant) และสารเคมีที่ช่วยให้โคแอกกูแลนด์มีประสิทธิภาพดีขึ้นเรียกว่า โคแอกกูแลนด์เอด (Coagulant Aid) ซึ่งสารโคแอกกูแลนด์ที่นิยมใช้มากที่สุดคือ สารส้ม ส่วนสารโคแอกกูแลนด์เอดที่นิยมใช้คือ สารโพลีเมอร์สังเคราะห์ หรือสารโพลีอิเลคโทรไลด์ แต่เนื่องจากสารทั้งสองเป็นสารเคมีที่สังเคราะห์ขึ้น และมีราคาค่อนข้างแพง อีกทั้งเป็นสารเคมีที่ตกค้าง ทำให้เป็นอันตรายในการใช้อุปโภคและบริโภค ด้วยเหตุผลข้างต้นนี้ ทางคณะผู้จัดทำได้พยายามศึกษาทดลองหาสารจากธรรมชาติ ซึ่งเป็นผงชีวมวล ได้แก่ มะรุม จอก สาหร่าย มาใช้เป็นสารโคแอกกูแลนด์เอดแทนสารเคมีเหล่านั้น แล้วจึงนำผงชีวมวลมาทำปฏิกิริยากับสารส้ม เพื่อลดการใช้ปริมาณของสารส้มให้น้อยลงและทำให้การตกตะกอนมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย