การพัฒนาฉนวนและระบบกันความร้อนหลังคาบ้านจากอลูมิเนียมฟอยล์เหลือทิ้งร่วมกับวัสดุธรรมชาติ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ฉัตรณิชา มาตย์สาลี, วัชรินทร์ ไชโยลา, วริศรา ลครพล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พีรดลย์ อ่อนสี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันประเทศไทย นิยมใช้ฉนวนกันความร้อนเพื่อออกแบบระบบกันความร้อนแก่ที่อยู่อาศัยอย่างแพร่หลาย โดยฉนวนกันความร้อนที่นิยมใช้ คือฉนวนเส้นใยสังเคราะห์ เนื่องจากวัสดุฉนวนส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศและทำจากเส้นใยสังเคราะห์ อาจส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในกระบวนการผลิตและกระบวนการกำจัด คณะผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเพื่อสร้างฉนวนกันความร้อนจากอลูมิเนียมฟอยล์เหลือทิ้งจากกล่องนมร่วมกับเส้นใยจากไม้ไผ่ เส้นใยมะพร้าว และเส้นใยจากหญ้าแฝก โดยใช้น้ำยางธรรมชาติเป็นตัวประสาน และต้องการพัฒนาฉนวนดังกล่าวไปเป็นระบบป้องกันความร้อนให้กับหลังคาบ้าน
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษา
1.คุณสมบัติของแผ่นฉนวนกันความร้อนที่สร้างขึ้นจากวัสดุธรรมชาติคือ เส้นใยจากไม้ไผ่ เส้นใยมะพร้าว เส้นใยจากหญ้าแฝก และน้ำยางพาราหล่อแบบ(น้ำยางธรรมชาติ) ในอัตราส่วนต่างๆ คือเส้นใยไม้ไผ่ และน้ำยางพาราหล่อแบบ 1:1, 2:1, 1:2 และทำการทดลองเปลี่ยนวัสดุธรรมชาติเพื่อผสมในอัตราส่วนเดียวกัน โดยใช้เป็นเส้นใยมะพร้าว และเส้นใยจากหญ้าแฝก เพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติจากนั้นผสมเส้นใยแบบรวม ได้แก่เส้นใยไม้ไผ่ เส้นใยมะพร้าว เส้นใยจากหญ้าแฝก และน้ำยางพาราหล่อแบบ(น้ำยางธรรมชาติ) ในอัตราส่วนต่างๆ เช่น 1:1:1:1 เป็นต้น จากนั้นทำการทดสอบหาค่าคุณสมบัติเชิงกายภาพ เชิงกล เชิงความร้อนตามมาตรฐาน ได้แก่ ศึกษาค่าความหนาแน่น, ค่าปริมาณความชื้น, ค่าการดูดซับน้ำ และค่าการนำความร้อน
การออกแบบระบบป้องกันความร้อนภายในบ้านเรือน โดยอาศัยการติดฉนวนที่หลังคาเพื่อลดอุณหภูมิ โดยใช้ฉนวนกันความร้อนจากธรรมชาติที่สร้างขึ้นจากขั้นที่ 1 มาใช้ร่วมกับอลูมิเนียมฟอยล์ที่เหลือทิ้งจากกล่องนม จากนั้นทำการทดสอบหาอุณหภูมิเฉลี่ยภายในโมเดลที่สร้างขึ้นในแต่ละช่วงเวลาของวัน และหาค่าสภาพนำความร้อนของระบบป้องกันความร้อนสำหรับติดหลังคาดังกล่าว