การศึกษาการสลายตัวของโปรตีนในผลิตภัณฑ์กากถั่วลิสงหมักและไม่หมักด้วยวิธีอิเลคโพรีซีส

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณิชา วรานิชสกุล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

นาฏญา อภิชาติโยธิน

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

​โปรตีนจากพืชที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีที่สุดแหล่งหนึ่ง คือโปรตีนจากพืชตระกูลถั่ว โดยถั่วลิสงนั้นถือว่าเป็นหนึ่งในแหล่งโปรตีนที่ดีที่สุดและได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวาง ถั่วลิสงยังมีระดับไขมันที่สูง ทำให้เมล็ดถั่วลิสงเป็นวัตถุดิบอาหารที่มีพลังงานสูงและยังประกอบไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเป็นส่วนใหญ่ และมีกรดไขมันจำเป็นในอาหาร ถั่วลิสงยังสามารถนำมาสกัดเอาน้ำมันออกมา ซึ่งนำไปใช้เพื่อการบริโภคของคนเป็นหลัก ส่วนที่เป็นผลพลอยได้ก็คือ กากถั่วลิสง (Soybean meal) ซึ่งมีระดับโปรตีนและระดับโภชนะอื่น ๆ สูงกว่าเมล็ดถั่วลิสงและมีกรดอะมิโนที่จำเป็น โดยได้มีการนำกากถั่วลิสงมาใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์สำหรับสัตว์ทุกประเภท ทุกขนาดและทุกอายุ เช่น สุกร สัตว์ปีก สัตว์น้ำ และสัตว์กระเพาะรวม กากถั่วลิสงถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมทั้งในอาหารของมนุษย์และสัตว์เนื่องจากกากถั่วลิสงนั้นมีปริมาณโปรตีนสูงเป็นวัสดุอาหารโปรตีนจากพืชที่สำคัญในด้านโภชนาการ

​การย่อยโปรตีนให้มีขนาดที่เล็กลงจะส่งผลดีต่อการดูดซึมและนำไปใช้ จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบถึงชนิดของโปรตีนขนาดต่างๆ ที่มีการย่อยสลายลงไปเป็นกรดอะมิโนเพื่อให้ได้ที่มีคุณภาพในการดูดซึมตามที่ต้องการ โดยในการตรวจสอบจะทำการเปรียบเทียบระหว่างกากถั่วลิสงไม่หมัก และกากถั่วลิสงหมัก โดยจะมีการตรวจสอบด้วยการใช้ Sodium Dodecyl Sulfate Polyacry-lamide Gel Electrophoresis (SDS-PAGE) ในการศึกษาขนาดและลักษณะของโปรตีนดังกล่าว