กระดาษชานอ้อยชะลอการสุกของผักและผลไม้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กมลณัฐ ยอดแก้ว, ชนนิกานต์ กันธะรส
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ชิตชไม โอวาทฬารพร, มาเรียม วัทนาด
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องกระดาษชานอ้อยชะลอการสุกของผักและผลไม้ การทดลองนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตวัสดุดูดซับกระดาษชานอ้อยที่มีเม็ดบีดส์ที่กักเก็บน้ำมันหอมระเหยกานพลูและอบเชย และทดสอบประสิทธิภาพของวัสดุดูดซับกระดาษชานอ้อยที่มีเม็ดบีดส์ที่กักเก็บน้ำมันหอมระเหยกานพลูและอบเชย ในการชะลอการสุกของผักและผลไม้ เนื่องจากผักและผลไม้ เป็นแหล่งของสารอาหารที่สำคัญในการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ แต่เนื่องจากการขนส่งผักและผลไม้ให้ถึงมือผู้บริโภคที่มีระยะทางในการขนส่งไกลมักใช้เวลานาน หรือเมื่อผู้บริโภคซื้อผักหรือผลไม้ไปเก็บไว้ที่บ้านก่อนการนำมาบริโภคอาจจะใช้ในการบริโภคไม่หมดในระยะเวลาอันสั้น ก็จะทำให้เกิดสุก และเน่าเสียขึ้นผู้จัดทำเล็งเห็นถึงปัญหาของการเก็บรักษาผักและผลไม้ให้สามารถยืดอายุการเก็บรักษาให้นานขึ้น การเน่าเสียของผักและผลไม้มักเกิดจากการมีเชื้อที่ก่อให้เกิดการทำลายผักและผลไม้ เช่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น จากการศึกษางานวิจัย พบว่าน้ำมันหอมระเหยจากกานพลูและอบเชยมีความสามารถในการยับยั้งเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียได้
นอกจากนี้กระบวนการเหนี่ยวนำให้เกิดการสุกของผลไม้เกิดจากกระบวนการที่มีการผลิตแกสเอทิลีนของผลไม้ซึ่งเป็นกระบวนการตามธรรมชาติ ซึ่งแกสเอทิลีนที่ถูกผลิตขึ้นมาจะเหนี่ยวนำให้เกิดการสุก และส่งผลให้มีการสร้างน้ำตาล ซึ่งเป็นอาหารของเชื้อที่ก่อให้เกิดการเน่าเสียต่อไปได้ ทางผู้จัดทำโครงานจึงมีความสนใจในการใช้วัสดุเหลือทิ้ง คือกากชานอ้อยที่เหลือจากการบีบน้ำอ้อยมาเตรียมให้เป็นวัสดุดูดซับที่แกสเอทิลีนมีการเติมน้ำมันหอมระเหย จากกานพลูและ อบเชยที่ถูกกักเก็บในรูปเม็ดบีดส์ ที่สามารถปลดปล่อยน้ำมันหอมระเหยจากกานพลูและอบเชย ออกมาอย่างช้าๆ เพื่อช่วยในการชะลอการสุกของผักและผลไม้ได้