การเปรียบเทียบขนาดของรูพรุนของพืชวงศ์กกที่มีผลต่อการดูดซับน้ำมัน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พิสิษฐ์ ธำรงวิไลเนตร, ภาณุวัตร บุรีรัตน์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
บารเมษฐ์ สิมพร
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
น้ำมันเป็นสารมลพิษทางน้ำที่เกิดจากการประกอบอาหารและชําระล้างสิ่งสกปรกในครัวเรือน หรือตามโรงอาหาร ทำให้น้ำมันที่เกิดขึ้นถูกถ่ายเทปะปนกับน้ำเสียชุมชนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทำให้น้ำมันแขวนลอยอยู่ในแหล่งน้ำก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปัจจุบันก็มีการบําบัดน้ำเสียหลายวิธี เช่น วิธีการทางเคมีเป็นวิธีการกําจัด น้ำมันด้วยการเติมสารเคมีที่ใช้สำหรับแยกน้ำมันออกจาก หรือวิธีทางกายภาพ เป็นวิธีที่ใช้กันมากเนื่องจากทำได้รวดเร็ว ค่าใช้จ่ายในการทำงานต่อ กระบวนการไม่ซับซ่อน วิธีการทางกายภาพมีด้วยกันหลายวิธี ได้แก การทำให้ลอยตัวโดยธรรมชาติ หรือการใช้วัสดุดูดซับ เป็นต้น (ธิดา, 2545)
การใช้วัสดุดูดซับจากพืชก็จัดเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ น่าสนใจเนื่องด้วยเป็นกระบวนการที่สามารถดำเนินการได้ง่าย จากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่ามีวัสดุ เหลือทิ้งราคาถูกหลายชนิดที่สามารถนำมาใช้เป็นตัวดูดซับที่มีประสิทธิภาพเช่น ฝ้าย (กฤษณ์และศิริพร, 2545) ธูปฤาษี (ธิดา, 2545) เป็นต้น
ในงานวิจัยนี้จะศึกษาเกี่ยวกับขนาดของรูพรุนจากกกในการดูดซับ กกเป็นไม้ล้มลุก มีประมาณ 4,000 ชนิดแพร่พันธุ์กระจายทั่วโลก ชอบที่ชื้นแฉะ ขึ้นในที่ระดับต่ำตามหนอง บึง ทางระบายคันคูน้ำและโคลนเลน ใน 46 ประเทศจัดพืชวงศ์กกเป็นวัชพืช
จึงทำให้ผู้จัดทำได้มีแนวคิดที่จะนำกกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดูดซับน้ำมัน
เพื่อศึกษาขนาดของรูพรุนที่มีผลในการดูดซับน้ำมันของพืชวงศ์กก
เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซับน้ำมันของขนาดรูพรุนที่แตกต่างกัน