เครื่องอบพลังงานเเสงอาทิตย์ระบบActive

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

สุธิดา พรมจรี, ปานรพี แสงแสน, ภโณทัย ยามโสภา

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ไสว วีระพันธ์, เพิ่มพูน พลศิริ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนปทุมรัตต์พิทยาคม

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ระบบ Active มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ระบบ Active ที่สามารถใช้งานได้ 24 ชั่วโมง และศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ระบบ Active การพัฒนาเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ระบบ Active ให้สามารถใช้งานได้ 24 ชั่วโมง ใช้หลักการ “การไหลเวียนอากาศร้อน เพื่อระบายความชื้นด้วยวิธีธรรมชาติ” ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องอบแห้งด้วยเครื่องเป่าลมร้อน พัดลมระบายอากาศ และหลอดไฟ เข้าไปในเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเพิ่มความร้อนภายในเครื่องอบแห้งทำงานควบคู่กับพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่มีในธรรมชาติ นอกจากนี้เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ มีการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่ชาร์จไฟจากแผงโซลาเซลล์ ที่มีการปรับหมุนตามการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ โดยใช้ระบบโซลาตามตะวัน (Solar Tracking) ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการชาร์จไฟให้แก่แบตเตอรี่เพื่อเก็บพลังงานไฟฟ้าสำหรับให้เครื่องอบแห้งทำงานในในเวลากลางคืนหรือช่วงเวลาที่มีแสงแดดน้อย ทำให้อาหารแห้งเร็วมากยิ่งขึ้น ช่วยลดระยะเวลาในการอบแห้งอาหาร อีกทั้งได้อาหารที่สะอาด ปลอดภัย และมีคุณภาพอีกด้วย ดังนั้นเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ระบบ Active ที่พัฒนาขึ้น จึงเป็นนวัตกรรมที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่ไม่มีวันหมดสิ้น และไม่มีผลกระทบต่อส่งแวดล้อมและชุมชน การศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ระบบ Active ดำเนินการโดยทดลองตากกล้วย จำนวน 1,000 กรัม ด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ระบบ Active ที่พัฒนาขึ้น กับการตากกล้วย 1,000 กรัม ด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วไป และบันทึกมวลของกล้วยก่อนและหลังการทดลองอบแห้ง เพื่อเปรียบเทียบเปอร์เซนต์การระหายของน้ำ บันทึกอุณหภูมิและ ความชื้นอากาศ ทุก ๆ 30 นาที เป็นระยะเวลา 3 วัน เพื่อเปรียบเทียบอุณหภูมิและความชื้นเฉลี่ยของการอบแห้ง เพื่อสรุปผลการศึกษาประสิทธิภาพต่อไปสู่การสรุปผล