ประสิทธิภาพการดูดซับเหล็กและทองแดงด้วยผงคาร์บอนที่เติมเซลลูโลสจากแบคทีเรีย Rhodococcus sp. MI2 และไคโตซาน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

กันติชา แก้วทอง, กุลภรณ์ แซ่อึ่ง, นุดฮาตี แลหมัน

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สาธิต บัวดำ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในปัจจุบันนี้โลกเติบโตอย่างรวดเร็ว มีอุตสาหกรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายเพื่อมารองรับและเพื่อทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนดีขึ้น แต่การเติบโตของอุตสาหกรรมดังกล่าว จะพบของเสียเกิดขึ้นในทุก ๆ ครั้ง โดยจะพบได้จากน้ำเสียที่มีการปนเปื้อนของโลหะหนัก โดยปัญหามลพิษต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลในชีวิตประจำวันของเราทำให้มีความเสี่ยงต่อการนำโลหะหนักเข้าสู่ร่างกายผ่านทางการบริโภคอาหาร หรือดื่มน้ำที่มีสารเหล่านี้ปนเปื้อนอยู่ ดังนั้นจึงมีการคิดค้นกระบวนการบำบัดน้ำเสียขึ้น โดยกระบวนการบำบัดน้ำเสียที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายวิธี ซึ่งวิธีส่วนใหญ่ล้วนเป็นวิธีที่ยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายสูง แต่มีอีกวิธีหนึ่งที่เป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยาก ค่าใช้จ่ายไม่สูงและมีประสิทธิภาพ นั่นคือวิธีการดูดซับ (Adsorption) ซึ่งเป็นวิธีที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย หลักการของกระบวนการดูดซับ คือการเคลื่อนย้ายมวลสาร (mass transfer) ซึ่งเกิดจากการที่สสารที่อยู่ในของเหลวถูกเคลื่อนย้ายมาสะสมหรือเกาะติดบนพื้นผิวของของแข็ง ทำาให้สามารถกำจัดสสาร นั้นออกจากของเหลวได้ วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายและสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหาการปนเปื้อนโลหะจากน้ำในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ขั้นแรกคือการศึกษาการสกัดเซลลูโลสจากแบคทีเรีย Rhodococcus sp. MI2 แล้วนำมาขึ้นรูปวัสดุเชิงประกอบระหว่างเซลลูโลสของแบคทีเรียและพอลิเอทิลีนไกลคอล แล้วนำไปศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับโลหะหนักของผงคาร์บอนกับเซลลูโลสและ ไคโตซาน หลังจากนั้นนำตัวที่ดีที่สุดที่ได้จากการศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับไปศึกษาค่า pH ที่มีประสิทธิภาพในการดูดซับโลหะหนัก และศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซับโลหะหนักโดยการรบกวนสมดุลด้วยวิธีการเขย่า พร้อมทั้งหาสภาวะที่เหมาะสม ได้แก่ pH และ การเขย่า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซับโลหะหนัก