การสังเคราะห์วัสดุรูพรุนจากดอกธูปฤาษีร่วมกับซีโอไลท์สังเคราะห์จากฟางข้าวเพื่อประยุกต์ใช้ในการบำบัดน้ำเสียปนเปื้อนโลหะหนัก

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พลภัทร เลี่ยมตระกูลพานิช, นาคินทร์ สาดชัยภูมิ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัฐภัสสร เหล่าเนตร์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันประเทศไทยมีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเกี่ยวกับการปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมลงตามแหล่งน้ำทำให้เกิดปัญหาน้ำเสียตามมาเนื่องจากน้ำเสียที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม มักมีการปนเปื้อนโลหะหนัก โดยแนวทางการลดปัญหาดังกล่าวสามารถทําได้หลายวิธี และกระบวนการดูดซับด้วยวัสดุดูดซับเป็นหนึ่งในกระบวนการบําบัดดินและน้ำเสียปนเปื้อนที่มีประสิทธิภาพสูง โดยสารพิษจะถูกดูดซับที่ผิวของวัสดุดูดซับด้วยแรงทางกายภาพ และเคมี ข้อดีของการบําบัดสารพิษด้วยกระบวนการดูดซับ คือ สามารถบําบัดสารพิษได้หลายชนิด และสามารถนํามากลับใช้ใหม่ได้ด้วยการรีแอกติเวชัน สําหรับวัสดุดูดซับที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ได้แก่ ถ่านกัมมันต์ และซีโอไลท์ จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นคณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะนำต้นธูปฤาษีที่ลักษณะทางกายภาพเหมาะสมในการสังเคราะห์ถ่านกัมมันต์ มาศึกษาและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพที่เทียบเท่ากับซีโอไลท์ที่สังเคราะห์จากฟางข้าว ซึ่งเป็นการลดต้นทุนในการผลิตวัสดุดูดซับคุณภาพสูง เพื่อมาแก้ปัญหาน้ำเสียที่กำลังเป็นปัญหาที่พบในหลายพื้นที่ของประเทศไทย