การศึกษาและเปรียบเทียบสารตกค้างในพืชผักของยาฆ่าแมลงระหว่างกลุ่ม Organochlorine กับ Organophosphate
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
เขมิสรา อนรรฆมงคล, นันท์นภัส แสงจันทร์, ภัทร์ธีนันท์ ภักดีนรินทร์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ขวัญฤดี จันทคาร
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษายาฆ่าแมลงระหว่างกลุ่มOrganochlorineกับ Organophosphate (2)เปรียบเทียบปริมาณสารตกค้างในพืชผักที่ใช้ยาฆ่าแมลงระหว่างกลุ่ม Organochlorine กับ Organophosphate
กลุ่มตัวอย่างเป็นพืชที่ใช้ยาฆ่าแมลงระหว่างกลุ่มกลุ่ม Organochlorine กับ Organophosphate
โดยได้เลือกมาจากตามส่วนที่สามารถบริโภคได้ 5 ประเภท จำนวน 5 ชนิด คือ (1) ราก – แครอท
(2)ลำต้น – ผักกาดหอม (3) ใบ – สะระแหน่ (4) ดอก – ดอกกะหล่ำ (5) ผล – แตงกวา
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาและเปรียบเทียบสารตกค้างในพืชผักของยาฆ่าแมลงระหว่างกลุ่ม Organochlorine กับ Organophosphate โดยการหั่นตัวอย่างผัก ผลไม้ให้ละเอียด ตักใส่ขวดประมาณ 5 กรัม ใช้หลอดพลาสติกดูดน้ำยาสกัด 5 มิลลิลิตรใส่ลงในขวดเขย่า 1 นาที แล้วตั้งทิ้งไว้ 5 นาที ใช้เข็มหมุดจิ้มแผ่นกระดาษโครมาโทรกราฟฟี 1 ชิ้น นำลงในถ้วยโลหะที่วางบนตะแกรง นำตะแกรงไปวางในกล่องน้ำอุ่นที่อุณภูมิ 48 °C ใช้หลอดพลาสติกดูดส่วนใสของสารสกัดปริมาณ 1 มิลลิลิตร ใส่ลงในถ้วยโลหะที่วางบนตะแกรง ตั้งทิ้งไว้ให้แห้งในกล่องน้ำอุ่นการทดสอบสีทำที่อุณหภูมิ 37 °C ใช้เข็มหมุดจิ้มแผ่นกระดาษโครมาโทรกราฟฟี ในถ้วยโลหะตัวอย่างที่ระเหยแห้งใส่ลงในหลอด นำหลอดไปวางบนตะแกรงที่ตั้งไว้ในกล่องน้ำอุ่น โดยต้องไม่นำหลอดออกจนกว่าจะเสร็จสิ้นขั้นตอนการทดสอบเติมน้ำยาทดสอบจีพีโอ-เอ็ม 1 จำนวน 0.5 มิลลิลิตร เขย่าให้เข้ากันตั้งทิ้งไว้ 15 นาที เติมน้ำยาทดสอบจีพีโอ-เอ็ม 2 จำนวน 1 มิลลิลิตร เขย่าให้เข้ากันตั้งทิ้งไว้ 10 นาที เติมน้ำยาทดสอบจีพีโอ-เอ็ม 3 จำนวน 3 หยด เขย่าให้เข้ากันจากนั้นเติมน้ำยาจีพีโอ-เอ็มเอจำนวน 2 หยด สังเกตสีที่เปลี่ยนแปลง