การศึกษาปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระและกาบาของข้าวที่เพะงอกด้วยสารสกัดสมุนไพรจากพลูคาว
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กิรติกา แสงกุดเรือ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พิมพ์กมล พลอ่อนสา, สุกัญญา แสนทวีสุข
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในสภาวะปัจจุบันผู้คนมีการเจ็บป่วยมากขึ้น สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการรับประทานแป้งที่มีการแปรรูป รวมทั้งข้าวที่ได้รับการขัดขาวทำให้สูญเสียไฟเบอร์ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรค NCDs ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของข้าวฮางงอก และสมุนไพรไทย จึงมีแนวคิดในการเพาะข้าวฮางด้วยสารสกัดสมุนไพรจากพลูคาว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาอัตราการงอกของข้าวฮางงอกที่เพาะด้วยสารสกัดสมุนไพรจากพลูคาวและหาความเข้มข้นของสารสกัดสมุนไพรจากพลูคาวที่เหมาะสม 2) เพื่อศึกษาและพัฒนาให้ข้าวฮางงอกมีสารต้านอนุมูลอิสระ(Antioxidant) และสารกาบา(Gamma-amino butyric : GABA) จากการศึกษาปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระของข้าวฮางงอกที่เพาะด้วยสารสกัดสมุนไพรจากพลูคาวด้วยวิธี DPPH ทั้งหมด 7 ชุดการทดลอง ดังนี้ ชุดการทดลองที่ 1 ข้าวเปลือกที่ไม่ผ่านการเพาะงอก ชุดการทดลองที่ 2-7 ข้าวฮางงอกที่เพาะด้วยสารสกัดสมุนไพรจากพลูคาว 0% , 2% , 4% , 6% , 8% และ 10% ตามลำดับ พบว่าชุดการทดลองที่ 1-7 มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ 0.4425 , 4.22675 , 10.5925 18.6525 , 33.8125 , 54.9125 75.4375 และ 79.5875 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยชุดการทดลองที่ 7 มีปริมามาณสารต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดคือ 79.5875%