การศึกษาประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อราก่อโรคแอนแทรกโนสในพริกขี้หนู ด้วยน้ำมันหอมระเหยจากพริกไทยดำ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อาณาจักร แก้วกาฬ, พุทธิภูมิ กุลคุรุอนันต์, ภัคพล วรรณภาสนี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ณฤทธิ์ วรงค์, สิทธิศักดิ์ จินดาวงศ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
พริกเป็นพืชสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยมาหลายปี โดยข้อมูลจากนักวิชาการเกษตรชำนาญการกลุ่มส่งเสริมพืชผักและเห็ด สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร (นางสาวรุ่งนภา โบวิเชียร,2563) เผยว่าพื้นที่ในการเพาะปลูกพริกของประเทศไทย ในปี 2,559 มีพื้นที่รวมทั้งหมด 253,292 ไร่ ในปี 2,560 มีพื้นที่รวมทั้งหมด 224,939 ไร่ ในปี 2,561 มีพื้นที่รวมทั้งหมด 193,123 ไร่ และในปี 2,562 มีพื้นที่รวมทั้งหมด 170,619 ไร่ จะเห็นได้ว่าจากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น พื้นที่ในการเพาะปลูกพริกมีแนวโน้มลดลงเฉลี่ยประมาณปี่ละ 26,891 ไร่ โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากราคาพริกที่เกษตรกรขายไม่เป็นไปตามกลไกตลาดเนื่องจากมีการเก็บพริกที่นำเข้าไว้ในห้องเย็น เมื่อพริกมีราคาสูงจึงนำพริกที่เก็บไว้มาจำหน่าย ส่งผลให้รายได้จากพริกที่เกษตรกรควรได้ไม่เพิ่มขึ้น และอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญคือ ปัญหาโรคระบาดในพริก(โรคแอนแทรคโนส) ทำให้เกษตรกรจำเป็นต้องใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดโรค ซึ่งการใช้สารเคมีในปริมาณมากและระยะ เวลานานจะทำให้เชื้อราดื้อต่อสารเคมีเหล่านี้ ทำให้เกษตรกรต้องเพิ่มปริมาณสารเคมีไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นผลกระทบโดยตรงกับเกษตรกรที่ฉีดพ้นยาและผู้บริโภค
โรคแอนแทรคโนส เป็นโรคพืชที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ มีเชื้อราที่มีความสำคัญ เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรคโนส อยู่ในจีนัส Colletotrichum ทำให้ผลผลิตเน่าเสียอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ไม่สามารถขนส่งระยะไกลได้ การระบาดของโรคเกิดขึ้นรวดเร็วและรุนแรงในเขตที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูง เชื้อราสามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของพืชตั้งแต่ลำต้น ใบ ก้าน ดอก ผล และเมล็ด เชื้อรา Colletotrichum spp.สามารถเข้าทำลายเซลล์พืชโดยตรงไม่ต้องผ่านช่องเปิดธรรมชาติหรือบาดแผลสามารถเข้าทำลายผลผลิต ตั้งแต่ระยะดอก ผลอ่อน โดยยังไม่แสดงอาการของโรค จัดเป็นการเข้าทำลายแบบแฝง อาการของโรคแอนแทรคโนส เริ่มจากจุดแผลแห้งเล็ก ๆ สีน้ำตาลแล้วค่อย ๆ เข้มขึ้นขยายออกเป็นวงกลมหรือวงรีซ้อนกันเป็นชั้น ๆ อาการของโรคจะเห็นชัดเจนในระยะที่ผลเริ่มสุกเมื่อมีความชื้นสูง โรคนี้พบกระจายอยู่ทั่วโลกโดยเฉพาะในเขตร้อนชื้นจะพบการระบาดอย่างรุนแรง จากความรุนแรงของโรคทำให้เกษตรกรใช้สารเคมีที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสประกอบด้วย 2 กลุ่มหลัก คือสารเคมีประเภทสัมผัส ได้แก่ แมนโคเซ็บ สารเคมีประเภทดูดซึม ได้แก่ คาร์เบนดาซิม
จากปัญหาดังกล่าว คณะผู้จัดทําได้เล็งเห็นผลกระทบของโรคแอนแทรกโนสที่มีต่อผลผลิต และทำให้เกษตรกรต้องใช้สารเคมีในการกำจัด ทำให้ทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคมีปัญหาทางด้านสุขภาพ จึงได้ค้นคว้ากรรมวิธียับยั้งเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรกโนส และได้พบว่า น้ำมันหอมระเหยจากพริกไทยดำสามารถยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ดี (Srivastava และคณะ,2017)กันยารัตน์ และคณะ อธิบายว่าสารสำคัญที่พบในสารสกัดพริกไทยดำ ได้แก่ caryophyllene, 3-carene และ limonene มากที่สุด รองลงมา คือ β-pinene, caryophyllene oxide, spathulenol, α-Pinene, guaiene, linalool, piperitenone, germa-crene และ elemene ยังมีสารประกอบอื่น ได้แก่ α-cubebene,4-carvomenthenol, β-phellandrene, α-terpineol, camphor, citronellal, camphene และ α-thujene (กันยารัตน์ และคณะ,2556) นอกจากนี้ ขวัญชนกและคณะ พบว่าสาร caryophyllene ที่พบมากน้ำมันหอมระเหยจากพริกไทยดำสามารถยับยั้งการเจริยเติบโตของเชื้อรา Aspergillus sp., Penicillium sp., และ Rhizopus sp. ได้ดี (ขวัญชนกและคณะ,2559) โดยทางคณะผู้จัดทำได้ทำการเพาะเลี้ยงเชื้อราก่อโรคแอนแทรกโนส (Collectotrichum capcisi ) และทำการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพริกไทยดำเพื่อทดสอบประสิทธิภาพโดยการแบ่งเป็นสต๊อก ซึ่งในแต่ละสต๊อกจะมีความเข็มข้นของน้ำมันหอมระเหยที่แตกต่างกัน