การศึกษาเฉดสีจากพืชท้องถิ่น

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

อภิสรา กาวิกุล, ธนัชญา สรรเพชญ, เกวลิน กลักวงศ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

พัสวีพิชญ์ รุ่งโรจน์ตระกูล, สุพรรณี เชื้อนุ่น

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การสกัดสีจากพืชเพื่อศึกษาความหลากหลายของเฉดสีธรรมชาติ โดยทำในรูปแบบสีผงเพื่อให้สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน โดยการวิจัยนี้ศึกษาพืชท้องถิ่น 2 เฉดสี คือ สีแดง ได้จาก เปลือกแก้วมังกร และสีเหลือง ได้จาก เนื้อขมิ้นชัน กลีบดอกคำฝอย เนื้อฟักทอง กลีบดอกดาวเรือง จากแหล่งที่มาของพืชที่ต่างกันใน 3 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ของประเทศไทย พืชชนิดต่าง ๆ ถูกทำเป็นสีผง ด้วยการทำแห้ง ผงสีถูกนำมาละลายน้ำเพื่อทำการวิเคราะห์ค่ารหัสสีด้วย 2 วิธี คือ 1.ใช้เครื่อง Spectrophotometer ในการหากราฟระหว่างค่าการดูดกลืนของแสง (absorbance) และค่าความยาวคลื่น (wavelength) เพื่อหาเฉดสีของสารละลาย 2.วิธีระบายสีลงบนกระดาษและใช้โปรแกรม procreate เก็บข้อมูลในรูปแบบค่ารหัสสี RGB เพื่อสร้างกราฟเปรียบเทียบ และเก็บค่ารหัสสี CMYK ผลการทดลองพบว่าพืชชนิดเดียวกันเก็บเกี่ยวในระยะเวลาใกล้กัน แต่มาจากแหล่งปลูกต่างภูมิภาคให้ค่าเฉดสี RGB และ CMYK ที่แตกต่างกัน และผลที่ได้จากกราฟที่วิเคราะห์ได้จากเครื่อง Spectrophotometer ไม่สามารถแยกสีที่ตามองเห็นได้ แต่ทำให้ทราบว่าสารละลายประกอบด้วยเฉดสีมากกว่าหนึ่งเฉดสีและมีรูปแบบของแต่ละเฉดสี ทั้งนี้ยังรอผลกราฟ 3 มิติเพื่อเก็บข้อมูลและเปรียบเทียบค่ารหัสสี RGB