ศึกษารูปแบบพื้นผิวที่มีผลต่อการเดินของหอยทากยักษ์แอฟริกา
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วราตฤณ มะลิวัลย์, สุดารัตน์ พูลน้อย
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
คณิตา สุขเจริญ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การเคลื่อนที่ในสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง มีความแตกต่างกัน เมื่อสัตว์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต่างไปจากเดิมนั้นจะทำให้มีพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อปัจจัยทางกายภาพทำให้เกิดการวางตัวที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต คณะผู้จัดทำเลือกศึกษารูปแบบพื้นผิวที่มีผลต่อการเดินของหอยทากยักษ์แอฟริกา โดยนำหอยทากมาเลี้ยงในกล่องใสมีฝาปิดระบายอากาศได้ ให้ใบดาวเรืองเป็นอาหาร สำหรับการทดลอง ให้หอยทากเดินบนพื้นผิวที่ต่างกัน คือเดินบนหินที่มีขนาดต่างกัน จากนั้นทำให้พื้นผิวมีความลาดเอียง 30, 45, 60 และ 90 องศา และสร้างเขาวงกตจากพื้นผิวที่ต่างกัน โดยรูปแบบเขาวงกตจะเป็นรูปแบบอย่างง่าย สังเกตการเดินของหอยทาก รวมถึงการหมุนหัวกลับจำนวนครั้งในการยืดหัว เวลาและจำนวนครั้งที่หอยทากหยุดเดิน เวลาที่ออกจากเปลือกหอย และเวลาที่ใช้ในการเดินไปถึงจุดหมายของหอยทาก ซึ่งการเคลื่อนที่ของหอยทาก มีรูปแบบที่ต่างกัน อาจนำไปสู่การพัฒนาการออกแบบพื้นผิวสำหรับที่อยู่ในการเลี้ยงหอยทาก เพื่อให้หอยทากผลิตเมือกออกมาได้มากและเป็นผลดีต่อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบางชนิดที่ใช้เมือกหอยทากเป็นส่วนประกอบ