การศึกษาการเจริญเติบโตของผักบุ้งทะเลในดินชนิดต่างๆ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ไชยวัฒน์ อุทัยเภตรา, วรวิช นิธิกิจเดชา

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ฉัตรธิดา ชัยโพธิ์ศรี

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2560

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ต้นผักบุ้งทะเลเป็นผืชชายหาดริมทะเล ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาอาการและโรคต่างๆ เป็นพืชคลุมหน้าดินลดการกัดเซาะ แต่ในปัจจุบันผักบุ้งทะเลที่เกิดตามธรรมชาติหาดทรายริมทะเลมีจำนวนน้อยลง เนื่องจากการกัดเซาะชายฝั่ง การสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะจากคลื่นทะเล การบุกรุกชายหาดจากมนุษย์โดยไม่คำนึงถึงผลเสียของสิ่งแวดล้อม เป็นนต้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์และขยายพันธุ์ผักบุ้งทะเล ผู้จัดทำจึงได้ทำการศึกษาลักษณะ/คุณสมบัติของดินที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นผักบุ้งทะเล(Ipomoea pes-caprae)โดยใช้ต้นผักบุ้งทะเลจากหาดพลา หมู่2 ตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ปลูกในกระถางด้วยทราย จากแหล่งปลูกหาดพลา และดิน2ชนิดคือ ดินร่วนจาก จ.ชลบุรีและดินเหนียว จากจังหวัดสระบุรี อัตราการเจริญเติบโตของต้นผักบุ้งทะเล ศึกษาโดยวัดพื้นที่ใบด้วยวิธี leaf outline,วัดความยาวลำต้น และนำดินแต่ละชนิดที่ใช้ในการปลูกมาตรวจวัดสมบัติดิน ได้แก่ อุณภูมิดิน,สีดิน,ความเค็ม,ความเป็นกรด-เบส,คาร์บอเนตอิสระ,ความอุดมสมบูรณ์และเนื้อดิน จากผลการทดลองภายในระยะเวลา 30 วัน พบว่าต้นผักบุ้งทะเลเจริญเติบโตได้ดีที่สุดในดินร่วน รองมาคือในดินเหนียว และเจริญเติบโตน้อยที่สุดคือดินทราย ดินร่วนจึงเป็นดินที่ดีที่สุดต่อการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ผักบุ้ังทะเล