การศึกษาประสิทธิภาพของไฮดรอกซีอะพาไทต์เจลจากเปลือกไข่ไก่ต่อการคืนกลับเเร่ธาตุของฟัน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สุทธิภัทร์ มะโนเรือง, ปิยาพัชร เชื้อสะอาด
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นิภาวรรณ กันทเนตร์, ดุษณีย์ ศรีจันทร์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบันประชากรในประเทศไทยที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเทคโนโลยีและความก้าวหน้าในอุตสาหกรรมกำลังทำลายความสมดุลของสิ่งแวดล้อม และสร้างขยะอย่างมหาศาลทั้งปัญหาขยะพลาสติก และปัญหาขยะอาหารที่เริ่มกลายเป็นประเด็นใหญ่ทั่วโลก หลายองค์กรเริ่มมีมาตรการเพื่อแก้ปัญหาขยะอาหาร ในภาคอุตสาหกรรมมีการนำเศษวัตถุดิบเหลือใช้ไปรีไซเคิล เพื่อลดปริมาณขยะและทำให้ขยะเป็นศูนย์ (Zero waste) ซึ่งไข่ไก่เป็นอาหารโปรตีนที่คนทุกเพศทุกวัยนิยมบริโภค จึงทำให้มีเปลือกไข่ไก่ซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้ง โดยเปลือกไข่ไก่ยังมีสารประกอบของแคลเซียมบางชนิด เช่น ไฮดรอกซีอะพาไทต์ ซึ่งมีสมบัติเข้ากันได้กับเนื้อเยื่อในร่างกายมนุษย์ และมีโครงสร้างแบบเดียวกับกระดูกและฟันของมนุษย์ ทั้งสามารถช่วยในการสะสมแร่ธาตุคืนกลับสู่ผิวเคลือบฟันได้ ซึ่งเหมาะสำหรับนำมาใช้เป็นองค์ประกอบเสริมในสารคืนกลับแร่ธาตุฟัน โครงงาน เรื่องการศึกษาประสิทธิภาพของไฮดรอกซีอะพาไทต์เจลจากเปลือกไข่ไก่ต่อการคืนกลับแร่ธาตุของฟัน มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการสังเคราะห์ผงไฮดรอกซีอะพาไทต์จากเปลือกไข่ไก่ 2) ศึกษาประสิทธิภาพของไฮดรอกซีอะพาไทต์เจลจากเปลือกไข่ไก่ต่อการคืนกลับแร่ธาตุของฟัน โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้ ตอนที่ 1 การสังเคราะห์ไอดรอกซีอะพาไทต์จากเปลือกไข่ไก่ ตอนที่ 2 การเตรียมฟันของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ตอนที่ 3 การสร้างรอยผุจำลอง โดยการแช่ฟันไว้ในสารละลายสำหรับเร่งการสูญเสีญแร่ธาตุเป็นเวลา 4 ชั่วโมง ตอนที่ 4 การวัดค่าความแข็งผิวระดับจุลภาคก่อนได้รับไฮดรอกซีอะพาไทต์เจลจากเปลือกไข่ไก่ด้วยเครื่องวัดความแข็งผิว (Microhardness tester, Future - Tech, Corp., Kanagawa, Japan) โดยใช้หัวเพชรชนิดวิคเกอร์เลือกน้ำหนักแรงกดที่ 300 กรัม เป็นเวลา 15 วินาที จำนวน 4 รอยกด ตอนที่ 5 การจำลองสภาวะการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรด – ด่างภายในช่องปาก โดยทาผิวเคลือบฟันด้วยไฮดรอกซีอะพาไทต์เจลที่ได้จากเปลือกไข่ไก่ ชิ้นงานละ 1 มิลลิลิตร 4 นาที แล้วแช่ชิ้นงานตัวอย่างลงในสารละลายสำหรับเร่งการกลับคืนแร่ธาตุ 3 ชั่วโมง แล้วแช่ชิ้นงานตัวอย่างลงในสารละลายสำหรับเร่งการสูญเสียแร่ธาตุ 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นแช่ชิ้นงานตัวอย่างลงในสารละลายสำหรับเร่งการกลับคืนแร่ธาตุ 16 ชั่วโมง ทำวนไปจำนวน 14 วัน ตอนที่ 6 การวัดค่าความแข็งผิวระดับจุลภาคหลังการได้รับไฮดรอกซีอะพาไทต์เจลจากเปลือกไข่ไก่ด้วยเครื่องวัดความแข็งผิว (Microhardness tester, Future - Tech, Corp., Kanagawa, Japan) ตอนที่ 7 การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย Paired t - test