หลังคาที่พักรอรถประจำทางที่สามารถป้องกันแสงแดดโดยระบบเคลื่อนตามแสงอาทิตย์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จารุวิชญ์ แก้วภูสี, สิทธิภาคย์ เสมอใจ, วิทยา แสนศรีอมร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นวมินทร์ วงค์ไชย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
จากกรณีกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักบนโลกออนไลน์ถึงการก่อสร้างศาลานั่งรอรถโดยสารประจำ ทางทรงสมัยใหม่สวยหรูดูดีมีราคาแต่ไม่สามารถใช้ประโยชน์กันแดดกันฝนได้เลย บริเวณริมถนนหมายเลข 220 ศรีษะเกษ-อ.วังหิน จ.ศรีษะเกษ ของกรมทางหลวง ตามที่เป็นข่าวนั้น เป็นหลังคาทรงหมาแหงน กว้างยาวแค่ 2. 50เมตรไม่ว่าจะเป็นเวลาเช้าสาย บ่ายเย็นแม้ไม่มีลมพัดทั้งแดดและฝนก็จะสาด เข้าถึงตลอดเวลาชาวบ้านบางคนที่ใช้บริการต้องไปยืนแอบข้างต้นเสาเวลาฝนตกน้ำก็จะนองท่วมพื้นทำให สูญเสียงบประมาณนับล้านบาทก่อสร้างโดยเปล่าประโยชน์(เดลินิวส์,2563 )
ทางคณะผู้จัดทำจึงได้คิดที่จะทำหลังคาที่พักรอรถประจำทางที่หลังคาสามารถเคลื่อนตามแสงอาทิตย์ เพื่อป้องกันแสงแดดโดยจะสร้างโมเดลขนาดเล็กเพื่อจำลองที่พักรอรถประจำทางที่สามารถเคลื่อนตามแสง อาทิตย์ โดยใช้กลไกระบบไมโครคอนโทรลเลอร์ทำงานโดยการที่ เซ็นเซอร์วัดความเข้มของแสงรับค่าแสง แล้วส่งไปข้อมูลไปยังตัวไมโครคอนโทรลเลอร์หลังจากนั้นไมโครคอนโทรลเลอร์จะสั่งให้เซอร์โวมอเตอร์เคลื่อน ทำให้หลังคาเคลื่อนไปยังทิศทางของแสงอาทิตย์โดยได้แนวคิดมาจากงานวิจัยเรื่องเครื่องขับเคลื่อนแผงโซล่าเซลล์ตามแสงอาทิตย์อัตโนมัติสมภพผดุงพันธ์(2559. : 81-83 )
โดยคณะผู้จัดทำจะทดสอบโดยการใช้การวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพในการกันบดบังทิศทางของแสงแดดจากที่พักรอรถประจำทางโดยทำการวัดอุณหภูมิ ณ จุดที่นั่งใต้ที่พักรอรถประจำทางจากนั้นจึงบันทึก ข้อมูลลงตาราง และทำเป็นกราฟเปรียบเทียบจากที่พักรอรถประจำทางธรรมดา เพื่อหาข้อสรุปของโครงงาน โดยคาดว่าโมเดลที่พักรอรถประจำทางที่คณะผู้จัดทำได้ทำขึ้นนั้นสามารถช่วยแก้ไขปัญหาที่พักรอรถทางที่ไม่สามารถบังแสงแดดได้ตลอดเวลา เนื่องจากทิศทางของแสงจากดวงอาทิตย์ไม่คงที่ คณะผู้จัดทำจึงได้คิดค้นโครงงานหลังคาที่พักรอรถประจำทางที่สามารถป้องกันแสงแดดโดยระบบเคลื่อนตามแสงอาทิตย์ ขึ้นมา