การศึกษาความแตกต่างทางโครโมโซมของหยาดน้ำค้างต่อการวิวัฒนาการของพืช

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

กชกร นิคมคาย, สิรินดา ตันติรักษ์โรจน์, พิชามญชุ์ สำราญจิตต์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ฟ้า เลิศกุลวาณิชย์, วันดี อรัญวงศ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนแกลง(วิทยสถาวร)

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

พืชสกุลหยาดน้ำค้างเป็นพืชกินแมลงในวงศ์หญ้าน้ำค้าง สามารถพบได้ทั่วไปในเขตร้อนของทวีป แอฟริกา เอเชีย และออสเตรเลีย และนับว่ามีประโยชน์ในด้านการแพทย์ โดยสามารถใช้รักษาอาการไอ วัณ โรค และโรคที่เกี่ยวกับหลอดลมต่างๆได้ อย่างไรก็ตาม พืชชนิดนี้มีอัตราการรอดชีวิตต่ำ เนื่องจากพืชชนิดนี้มี ความต้องการในการเจริญเติบโตค่อนข้างสูง ทำให้อาจจัดได้ว่าพืชชนิดนี้ควรอนุรักษ์ไว้ นอกจากนี้ลักษณะของ พืชสกุลหยาดน้ำค้างชนิดต่างๆมีความหลากหลายที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นโครงงานนี้จึงต้องการศึกษาความ แตกต่างของโครโมโซมและเปรียบเทียบลักษณะทางพันธุกรรมของหยาดน้ำค้างแต่ละชนิดจากการสร้างคาร์ริ โอไทป์ โดยการศึกษาจากหยาดน้ำค้าง 4 สายพันธุ์ ได้แก่ drosera burmannii, drosera binata, drosera capensis และ drosera adelae เพื่อเปรียบเทียบลักษณะภูมิประเทศที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของ โครโมโซม โดยเริ่มจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จากนั้นเตรียมตัวอย่างพืชสำหรับย้อมสีโครโมโซม และทำแคริโอ ไทด์ จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับข้อมูลจากฐานข้อมูล NCBI การศึกษาทางพันธุศาสตร์ เซลล์เหล่านี้ จะทำให้เราได้รู้ถึงความเกี่ยวข้องกันของพืชในสกุลเดียวกัน และลำดับขั้นการวิวัฒนาการของพืช สกุลหยาดน้ำค้าง ซึ่งจะสามารถนำไปสู่การอนุรักษ์ในภายภาคหน้า