การศึกษาความเข้มข้นของ Colchicine และระยะเวลาในการแช่ที่เหมาะสม เพื่อเตรียมตัวอย่างในการศึกษาคาริโอไทป์ของกระเทียม
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปิ่นปินัทธ์ สำเนียงก้อง, ชนิกานต์ ทองสลับล้วน
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อาภรณ์ รับไซ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โรคเก๊าท์ (gout) เกิดจากการที่ระดับของกรดยูริคสูงในเลือด ซึ่งเป็นผลมาจากการสะสมกรดยูริคในร่างกายจำนวนมาก โดยเฉลี่ยแล้วกรดยูริคจะตกผลึกเมื่อระดับของกรดยูริคในเลือดมากเกิน 6.8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร การที่ร่างกายมีกรดยูริคสะสมมากกว่าปกติ เป็นระยะเวลานาน ก็จะไปตกตะกอนอยู่บริเวณรอบๆ ข้อ หรือภายในข้อ ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น
กระเทียมเป็นพืชท้องถิ่นของไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ ยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่มีประโยชน์เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา เช่น ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด แก้อาการโรคเก๊าท์ แก้อาการคัดจมูก แก้หอบหืด กระเทียมมีระยะเก็บเกี่ยวสั้นสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี จึงมีการส่งออกในรูปของกระเทียมสด และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกระเทียม ส่งผลทำให้มีการสร้างรายได้กระเทียมมากมาย
เนื่องจากโรคเก๊าท์เป็นโรคข้ออักเสบที่ยังคงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนไทยเป็นส่วนใหญ่ และกระเทียมก็มีการส่งออกในรูปของกระเทียมสด และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกระเทียม ส่งผลทำให้มีการสร้างรายได้กระเทียมมากมาย การปรับปรุงสายพันธุ์ของกระเทียมจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ ดังนั้นจากปัญหาและสาเหตุดังกล่าวคณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำการศึกษาความเข้มข้นของ Colchicine และระยะเวลาในการแช่ที่เหมาะสม เพื่อเตรียมตัวอย่างในการศึกษาคาริโอไทป์ของกระเทียม