แบบจำลองเครื่องยืดข้อเข้าเพื่อป้องกันการยึดติดกันระหว่างกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณแผลผ่าตัดจากความสัมพันธ์ระหว่างความยาวรัศมีของจานหน้าจักรยานกับมุมที่เกิดจากการงอเข่า

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

นันทนัช สระศรี, วีรวรรณ เอกจีน, โยษิตา โล่ประดิษฐ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สนฤดี ศรีสวัสดิ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

อาการกล้ามเนื้อยึดติดกับผิวหนังที่มีสาเหตุหนึ่งมาจากการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความลำบากในการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยซึ่งสามารถแก้ปัญหานี้ได้โดยการกายภาพบำบัดด้วยเครื่องช่วยการเคลื่อนไหวข้อเข่าอย่างต่อเนื่อง (Continuous Passive Motion ; CPM) แต่เนื่องจากเครื่องช่วยการเคลื่อนไหวข้อเข่าอย่างต่อเนื่องมีขนาดใหญ่ มีความซับซ้อนในการทำงาน และมีราคาสูง

จากการศึกษาการทำงานของเครื่อง CPM พบว่ามีลักษณะคล้ายการทำงานของกลไกจักรยานที่มีการหมุนทำให้เกิดมุมภายใน ดังนั้นผู้จัดทำโครงงานจึงสนใจที่จะสร้างเครื่องยืดข้อเข่า จากความสัมพันธ์ระหว่างความยาวรัศมีของจานหน้าจักรยานกับมุมที่เกิดจากการงอเข่า เพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้าย ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนในการซื้อเครื่อง CPM ที่มีราคาสูง ทำให้ผู้ป่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และนำกลับไปใช้งานต่อที่บ้านได้อย่างต่อเนื่อง