พลาสติกชีวภาพจากผักตบชวา

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ธนพร เชียงคำ, หัทยา สติหทัย

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ทองเพียร สิงห์ชัย

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เนื่องจากในปัจจุบันมีปัญหามลพิษในสังคมมากมายและปัญหาหนึ่งในนั้นคือ พลาสติกล้นโลก ซึ่งมีการนำพลาสติกหลากหลายรูปแบบและหลากหลายผลิตภัณฑ์ พลาสติกที่ใช้ในปัจจุบันนี้เป็นพลาสติกที่เป็นปัญหาต่อโลก ใช้เวลาในการย่อยสลายตามธรรมชาติประมาณ420ปี และหากนำไปเผาในโรงงานอุตสาหกรรมก็จะทำให้เกิดเป็นมลพิษทางอากาศเป็นอย่างมาก จึงต้องมีการคิดค้นหรือทดลองการทำพลาสติกให้ไม่เป็นพิษภัยกับธรรมชาติหรือที่เรียงว่าพลาสติกชีวภาพ จะมีคุณสมบัติในการย่อยสลายได้เร็จและไม่ทำให้เกิดเป็นมลพิษทางอากาศ แต่ในปัจจุบันนี้พลาสติกชีวภาพยังไม่แพร่หลายในสังคม เพราะคุณสมบัติในการใช้งานยังไม่ดีมากพอ

ผู้พัฒนาจึงได้คิดค้นพลาสติกชีวภาพที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยการทำให้พลาสติกชีวภาพที่มีคุณสมบัติในการ นิ่มและยืดหยุ่น มีความเหนียว ป้องกันการซึมน้ำได้พอประมาณ สามารถบรรจุได้ทุกผลิตภัณฑ์ (อาจมีข้อยกเว้นบ้างในบางกรณี เช่นการบรรจุอาหารที่มีน้ำในเวลานาน) และสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติโดยใช้เวลาในการย่อยสลายได้ประมาณ 2-3 เดือน