การพัฒนาเว็บไซต์และการประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ดเพื่อการเข้าถึงข้อมูลพรรณไม้ในโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พัทธ์พงศ์ ปัญจอานนท์, ปภพ เตชาทวีวรรณ, หะทัยธรรม รัตนเสถียร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จิโรจน์ แสงรัตนประเสริฐ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ก่อตั้งมาเกือบ 30 ปี โดยได้ทำการเรียนการสอนในสถานที่ปัจจุบันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 มีการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกไม้ต้น ไม่พุ่มและไม้ล้มลุกในบริเวณต่าง ๆ รอบโรงเรียน ซึ่งสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ที่นักเรียนและผู้สนใจเข้าถึงได้ แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลของต้นไม้ภายในโรงเรียนยังมีไม่ทั่วถึงและแม้ว่าบางต้นจะมีป้ายชื่อบอกข้อมูลชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อวงศ์ และชื่อสามัญแล้ว แต่ด้วยขนาดป้ายที่จำกัด ทำให้ไม่สามารถบอกรายละเอียดด้านสัณฐานวิทยา การใช้ประโยชน์ หรือข้อมูลอื่น ๆ ของพืชชนิดนั้น ๆ ได้ และหากทำป้ายขนาดใหญ่ก็จะใช้งบประมาณสูงและป้ายขนาดใหญ่อาจแตกหักเสียหายได้ง่าย จึงเป็นที่มาของการศึกษาในครั้งนี้ เพื่อสำรวจไม้ต้นและไม่พุ่มกลุ่มพืชมีเมล็ด (seed plants) ภายในบริเวณโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โดยจัดทำตัวอย่างพรรณไม้แห้ง บรรยายลักษณะทางสัณฐานวิทยา ถ่ายภาพ พร้อมทั้งระบุตำแหน่งของต้นไม้แต่ละชนิดภายในโรงเรียน แล้วนำข้อมูลเหล่านี้ไปจัดทำเป็นข้อมูลในเว็บไซต์และสุดท้ายคือการเชื่อม URL ของเว็บไซต์เข้ากับคิวอาร์โค้ด เพื่อการเข้าถึงข้อมูลที่ง่าย สะดวก เพราะในปัจจุบันสามารถสืบค้นคิวอาร์โค้ดได้ด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ (smart phone) อีกทั้งการใช้คิวอาร์โค้ดยังประหยัดพื้นที่ในการปิดประกาศเพราะมีขนาดเล็ก แต่สามารถเข้าถึงเนื้อหาข้อมูลใหญ่ได้ไม่จำกัด นอกจากนี้คิวอาร์โค้ดยังมีความน่าสนใจมากกว่าป้ายชื่อธรรมดา เหมาะกับการประยุกต์ใช้ในการศึกษารายวิชาต่าง ๆ เช่น ความหลากหลายของพืชและวิชาสัณฐานวิทยาของพืช หรือสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนสนใจศึกษาธรรมชาติด้วยตนเองได้อีกด้วย