การพัฒนาประสิทธิภาพอิฐดินเหนียวด้วยชานอ้อยและเปลือกหอยแครงเพื่อหาอัตราส่วนสำหรับสร้างเป็นวัสดุทางเลือกในการก่อสร้าง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ชนนิกานต์ เจริญโชติ, พิมพ์ลภัส สอนสี

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ศุภาวรรณ ห่วงช้าง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในปัจจุบันผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปหันมาสนใจใช้อิฐดินเหนียวแทนการใช้อิฐมอญ เนื่องจากอิฐมอญถึงแม้จะสามารถรับน้ำหนักได้ดีแต่มีข้อเสียในหลายๆ ด้าน แต่สำหรับอิฐดินซึ่งมีดินเหนียวเป็นวัสดุหลักนั้นมีข้อจำกัดหลายประการ คือ ก้อนอิฐเกิดการแตกร้าวจากการรับน้ำหนัก หดตัว และมีการดูดซึมน้ำ ซึ่งในการแก้ปัญหามักจะเพิ่มวัสดุทางการเกษตรเพื่อเพิ่มแรงยึดเกาะและเพิ่มประสิทธิภาพ โดยโครงงานนี้มีวัตถุประสงค์คือเพิ่มชานอ้อยและเปลือกหอยแครง เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของชานอ้อยและเปลือกหอยแครงในการพัฒนาให้เป็นอิฐดินเหนียวสูตรใหม่เพื่อทดสอบประสิทธิภาพด้านการทนต่อแรงอัด การหดตัว และการดูดซึมน้ำ และนำมาเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับอิฐมอญ โดยในการทดลองได้กำหนดสัดส่วนของชานอ้อยแทนที่ปริมาณดินผสมทราย ร้อยละ 0, 5, 10, 15 และ 20 และกำหนดให้อัตราส่วนระหว่างดินต่อทรายเท่ากับร้อยละ 85 : 15 จากนั้นนำไปทดสอบประสิทธิภาพด้านการทนต่อแรงอัด การหดตัว และการดูดซึมน้ำ เพื่อหาอัตราส่วนที่ดีที่สุด นำมาผสมกับเปลือกหอยแครง ในอัตราส่วน 2 , 4 , 6 , 8 และ 10 นำไปทดสอบประสิทธิภาพ จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับคุณสมบัติของอิฐมอญ ทั้งนี้คาดว่าผลการทดลองจะเป็นไปในลักษณะของการที่มีอัตราส่วนของชานอ้อยและเปลือกหอยแครงต่างกันในการผลิตอิฐดินเหนียว จะส่งผลต่อกำลังรับแรงอัด การหดตัว และมีการดูดซึมน้ำที่ต่างกัน และคาดว่าการเพิ่มวัสดุธรรมชาติจะส่งผลให้ก้อนอิฐมีค่ากำลังรับแรงอัดที่เพิ่มขึ้น มีร้อยละการหดตัวและร้อยละการดูดซึมน้ำลดลง เมื่อเทียบจากก้อนอิฐที่ไม่ผสมวัสดุธรรมชาติและอิฐมอญทั่วไป