การหาปริมาณและการสกัดสารสีที่ละลายน้ำได้จากแก่นต้นขนุน
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กนกวรรณ ตาลดี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
รองศาตราจารย์ ด้วง พุธศุกร์
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้เกิดจากการที่ผู้จัดทำได้ทราบว่าในอดีตมีการนำแก่นต้นขนุน(Artocarpus heterophyllus) มาย้อมสีผ้าเพื่อถวายเป็นจีวรสงฆ์ แม้ว่าปัจจุบันวิธีการดังกล่าวจะไม่เป็นที่นิยมหรือพบได้น้อย แต่หากมีการศึกษารูปแบบการสกัดสีและพัฒนาวิธีการย้อมสีอย่างเหมาะสมแล้ว อาจทำให้พืชดังกล่าวถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่และช่วยลดการใช้สีสังเคราะห์ลง ด้วยเหตุนี้ผู้จัดทำจึงทำการสกัดและวัดประมาณสารสีที่ละลายน้ำได้จากไม้ขนุน ซึ่งเป็นการดำเนินงานเบื้องต้นของการศึกษารุปแบบการสกัดสี โดยเริ่มจากการต้มไม้ขนุนบดในน้ำเพื่อให้สารสีละลายออกมาต่อจากนั้นกรองแยกกากทิ้งและแบ่งสารละลายออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 นำไประเหยแห้ง จะได้สารสีและสารอื่นๆ ที่ละลายน้ำได้ ส่วนที่ 2 นำไปผ่านกระบวนการอิเล็กโทรไลซิสโดยมีอะลูมิเนียมเป็นขั้วไฟฟ้า จะ เกิดสารอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเจลที่สามารถดักจับสารสีในสารละลายได้ ทำการกรองแยกออกมา แล้วใช้กรดไฮครอริกละลายเจลและใช้บิวทานอลละลายสารสี นำส่วนที่เป็นบิวทานอลไประเหยแห้งจะเหลือสารสีที่ละลายน้ำได้และเมื่อนำสารละลายที่แยกสารสีออกมาแล้วไประเหยแห้ง พบว่าจะมีสารอื่นๆ ที่ละลายน้ำได้เหลืออยู่ จากการทดลองสามารถหาประมาณสารสีได้ 2 วิธี คือ วัดจากปริมาณสารสีที่แยกออกมาได้จริง ซึ่งคิดเป็น 6.4 % ของแก่นขนุนหรือคำนวณจากปริมาณสารต่างๆ ที่ละลายน้ำได้ลบด้วยปริมาณสารอื่นๆ ที่ไม่มีสีและลายน้ำได้ซึ่งคิดเป็น 3.1%