การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากใบสามแมว (Eupatirium adenophorum) ในการกำจัดยุงลาย Aedes aegypti
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นัทธี สุรีย์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ภควรรณ หนองขุ่นสาร
ประสาท กิตตะคุปต์
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากการกลั่นจากใบสาบแมวด้วยไอน้ำ เมื่อนำมาทดสอบผลต่อลูกน้ำยุง และตัวยุงเต็มวัย พบว่า สารที่ออกฤทธิ์นั้นอยู่ที่น้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้จริง และมีประสิทธิภาพสูงในการฆ่าลูกน้ำยุง โดยมีค่า ![LC_50=62.2ppm](/latexrender/pictures/99d/99daed48e46bebaef7ca32cd514874c6.gif) และ ![LC_95=150.9ppm](/latexrender/pictures/99d/63c/63cc3b8faa19fa9e19b8ae430cf737d8.gif) ทั้งยังสามารถป้องกันการกัดของยุงโตเต็มวัยได้นานถึง 4 ชั่วโมง เมื่อทำการทดสอบการฆ่ายุงตัวเต็มวัย โดยใช้วิธีทดสอบความไวของยุงลายต่อนำมันหอมระเหย พบว่า น้ำมันหอมระเหยไม่สามารถฆ่ายุงตัวเต็มวัยได้ 100 % แต่กำให้ยุงที่ไม่ตายอ่อนเพลียจนไม่สามารถบินได้ในช่วงเวลาที่ทำการทดสอบเช่นกัน เมื่อทำการศึกษาในด้านความเป็นพิษของยีน โดยใช้กระบวนการ Ames’ test แล้ว พบว่า น้ำมันหอมระเหยจากใบสาบแมวไม่ทำให้แบคทีเรีย Salmonella thyphimurium สายพันธุ์ TA98 และ TA100 เกิดการกลายพันธุ์ได้อย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05 เมื่อเทียบกับชุดควบคุม ) และจากการแยกน้ำมันหอมระเหยออกเป็นส่วน ๆ ด้วยเทคนิค column chromatography จะทำให้ได้ส่วนประกอบ 5 ส่วน เมื่อนำมาวิเคราะห์หาสูตรโครงสร้างเบื้องต้นด้วยเทคนิค1H NMR spectroscopy แล้ว พบว่า สารส่วนที่ 2 มีประสิทธิภาพในการฆ่าลูกน้ำยุงลายสูงที่สุด ส่วนในด้านการป้องกันยุงกัดนั้น พบว่าสารส่วนที่ 2, 3, 4 และ 5 มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน และไม่แตกต่างจากน้ำมันหอมระเหยก่อนแยกอย่างมีนัยสำคัญ จึงนับได้ว่าน้ำมันระเหยจกใบสาบแมวมีประสิทธิภาพในการฆ่าลูกน้ำยุงลาย และป้องกันการกัดของยุงลาย Aedes aegypti ในระดับสูง ทั้งยังมีความปลอดภัยต่อสมดุลของระบบนิเวศในระดับหนึ่งซึ่งเหมาะสมต่อการนำมาพิจารณาเพื่อประยุกต์ใช้ต่อไป