ผลของเคลย์ต่อสมบัติการทนสึกของยางธรรมชาติที่เสริมแรงด้วยเขม่าดำ
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐกานต์ อำภารักษ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุภา วิรเศรษฐ์
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ยางธรรมชาติ/เขม่าดำ/เคลย์ นาโนคอมโพสิท มีการเตรียมด้วยวิธีการหลอมเหลว ซึ่งทำการศึกษาถึงผลกระทบของปริมาณเคลย์ที่มีต่อสมบัติการทนสึกและสมบัติเชิงกลต่างๆ ของยางธรรมชาติ อีกทั้งยังทำการศึกษาการกระจายตัวของเคลย์ในยางโดยใช้เทคนิค X ray Diffraction ซึ่งพบว่ายิ่งใส่ปริมาณเคลย์ลงไปในยางธรรมชาติมากขึ้น d spacing ของเคลย์ก็จะอยู่ห่างกันน้อยลง เมื่อนำไปหาสภาวะที่ใช้ในการขึ้นรูป พบว่ายางธรรมชาติ/เขม่าดำ/เคลย์ นาโนคอมโพสิท มีระยะเวลาในการสกอร์ชและขึ้นรูปน้อยกว่ายางธรรมชาติที่เสริมแรงด้วยเขม่าดำเพียงอย่างเดียว เนื่องจากเคลย์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการ crosslink ในยางได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อนำ ยางธรรมชาติ/เขม่าดำ/เคลย์ นาโนคอมโพสิท ไปวัดสมบัติการทนสึกและสมบัติเชิงกลต่างๆ กลับพบว่า ค่าที่ออกมาใกล้เคียงกับค่าของยางธรรมชาติที่เสริมแรงด้วยเขม่าดำเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะว่า adhesion ระหว่างยางธรรมชาติกับเคลย์ยังไม่ดีนัก จึงต้องมีการปรับปรุง interaction ระหว่างยางธรรมชาติกับเคลย์ โดยใส่ compatibilizer เช่น silane ลงไป ซึ่งการทดลองในส่วนนี้กำลังอยู่ในช่วงการทำวิจัย