การวิเคราะห์ธาตุในตะกรันโลหะ และศิลาแลง ในแหล่งขุดค้นทางโบราณคดี บ้านสะพือใต้ จังหวัดอุบลราชธานี ด้วยเทคนิคเอกซเรย์ฟลูออเรสเซนต์สเปกโทรสโกปี
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บรรพชิต โพธิ์บอน
พนัส แก่นอาสา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ยุทธ แม้นพิมพ์
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
จากการวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณของธาตุในตะกรันโลหะ และศิลาแลง จากแหล่งขุดค้น ทางโบราณคดี บ้านสะพือใต้ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ด้วยเทคนิคเอกซเรย์ฟลูออเรสเซนต์สเปกโทรสโกปีแบบวัดการกระจายความยาวคลื่นในตะกรันโลหะพบธาตุต่อไปนี้ ออกซิเจน(O), แมกนีเซียม(Mg), อะลูมิเนียม(Al), ซิลิกอน(Si), ฟอสฟอรัส(P), กำมะถัน(S), คลอรีน(Cl), โพแทสเซียม(K), แคลเซียม(Ca), ไทเทเนียม(Ti), แมงกานีส(Mn), เหล็ก(Fe), โคบอล(Co), ตะกั่ว(Cu), รูบิเดียม(Rb), สทอนเทียม(Sr), เซอโคเนียม(Zr) และ แบเรียม(Ba) โดยพบปริมาณของธาตุออกซิเจนมากที่สุด 46.81122 49.93069% รองลงมาคือ ธาตุซิลิกอน 29.22306 32.39966% และจากการวิเคราะห์ในศิลาแลง พบธาตุต่อไปนี้ ออกซิเจน(O), แมกนีเซียม(Mg), อะลูมิเนียม(Al), ซิลิกอน(Si), ฟอสฟอรัส(P), โพแทสเซียม(K), แคลเซียม(Ca), ไทเทเนียม(Ti), วาเนเดียม(V), โครเมียม(Cr), แมงกานีส(Mn), เหล็ก(Fe), รูบิเดียม(Rb), สทอนเทียม(Sr), เซอโคเนียม(Zr) และ แบเรียม(Ba) โดยพบปริมาณของธาตุออกซิเจนมากที่สุด 48.29293 50.28794% รองลงมาคือ ธาตุซิลิกอน 32.14839 35.29925% (ร้อยละโดยน้ำหนัก) เมื่อเปรียบเทียบชนิดและปริมาณของธาตุในตะกรันโลหะ กับศิลาแลง พบว่ามีชนิดและปริมาณธาตุองค์ประกอบที่ใกล้เคียงกันโดยมีปริมาณของธาตุออกซิเจนมากที่สุด และรองลงมาคือธาตุซิลิกอน The analysis of elements and quantity consisted in slag and laterite from the excavation at Ban Saphuetai in Amphur Piboonmungsahan, Ubon Ratchathani province by Wavelength Dispersive X ray Fluorescence Spectroscopy. The research findings were as follws : The elements of slag consisted of oxygen(O), magnesium(Mg), aluminum(Al), silicon(Si), phosphorus(P), sulfur(S), chlorine(Cl), potassium(K), calcium(Ca), titanium(Ti), manganese(Mn), iron(Fe), cobalt(Co), copper(Cu), rubidium(Rb), strontium(Sr), zerconium(Zr) and barium(Ba). The highest quantity element consisted in the slag was oxygen whish was 46.81122 49.93069% and the lesser was silicon which was 29.22306 32.39966% and the elements of laterite consisted of oxygen(O), magnesium(Mg), aluminum(Al), silicon(Si), phosphorus(P), potassium(K), calcium(Ca), titanium(Ti), vanadium(V), chromium(Cr), manganese(Mn), iron(F), rubidium(Rb), strontium(Sr), zerconium(Zr) and barium(Ba). The highest quantity element consisted in the laterite was oxygen which was 48.29293 50.28794% and the lesser was silicon which was 32.14839 35.29925% (% by weight). Due to the analysis of both element and quantity consisted in the slag and laterite, it was found that the two parameters were approximately the same for which the highest quantity was oxygen and the lesser was silicon.