การวิเคราะห์ธาตุในหินปราสาทเทียบกับแหล่งหินธรรมชาติในจังหวัดอุบลราชธานี โดยวิธีการอาบนิวตรอน
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐพล พรมลี
นันทคม เป็นมงคล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ยุทธ แม้นพิมพ์
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
จากการศึกษาตัวอย่างหินที่นำมาใช้ในการก่อสร้างปราสาท จากปราสาทบ้านเบ็ญ ปราสาทหนองทองหลาง ปราสาทนางพญา และปราสาทภูปราสาท และวัสดุหินทรายจากแหล่งธรรมชาติในบริเวณแก่งสะพือและแก่งตะนะ พบว่า ในหินทรายที่นำมาก่อสร้างปราสาทหินประกอบด้วยธาตุซิลิกอนมากที่สุด ประมาณ34.88 48.86% ส่วนวัสดุหินทรายจากแหล่งธรรมชาติประกอบด้วยธาตุซิลิกอนมากที่สุดประมาณ 40.60 45.69%และในศิลาแลงที่นำมาใช้ในการก่อสร้างปราสาทหินประกอบด้วยธาตุเหล็กมากที่สุด ประมาณ 13.12 – 40.69% เมื่อเปรียบเทียบปริมาณและชนิดของธาตุของตัวอย่างหินทรายจากปราสาทหินและจากแหล่งธรรมชาติพบว่า มีลักษณะแตกต่างกัน และเมื่อเปรียบเทียบปริมาณและชนิดของธาตุของตัวอย่างศิลาแลงในหินปราสาท พบว่าปราสาทนางพญาและปราสาทภูปราสาท มีปริมาณและชนิดของธาตุที่ใกล้เคียงกันมาก แสดงว่าปราสาททั้งสองแห่งก่อสร้างด้วยศิลาแลงจากแหล่งเดียวกัน The study of the sanctuaries stone sample were analyzed:pasat Thonglang,pasat Nangphaya,pasat Phupasat. Sandstone from nature was analyzed: Sapeu cataract. The research findings were as follow : the most percentage of sandstone for use to build the castle had silicon about 34.88 48.86%. The most percentage of laterite had silicon about 40.60 45.69%.The most percentage of laterite had Iron about 13.12 40.69%. The comparetion are typal and quanitition of element in sanctuaries stone and nature with about had sandstone of the significant. Some of the comparetion are typal and quanitition of element were nearness in laterite of pasat Nangphaya and pasat Phupasat because laterite from a fixed point.