การสกัดสารจากพืชมีพิษเพื่อหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีผลต่อเซลล์มะเร็งและแบคทีเรียดื้อยา

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • อริยะ ไชสวัสดิ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ประสาท กิตตะคุปต์

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาชีววิทยา

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โดยวัตถุประสงค์ที่ต้องการหาพืชสมุนไพรที่เป็นพืชมีพิษซึ่งหาได้ง่าย ปลูกขึ้นและเจริญเติบโตได้ง่ายในประเทศไทยมาทำการศึกษาถึงสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีผลต่อเซลล์มะเร็งและแบคทีเรียดื้อยา ซึ่งหากประสบความสำเร็จแล้วจะเป็นประโยชน์มากต่อการพัฒนายาต้านมะเร็งและยาต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคชนิดดื้อยาขึ้นใช้เองในประเทศ ในการศึกษาครั้งนี้ผู้จัดทำโครงงานได้สนใจที่นำส่วนของเปลือกจิกทะเล, ใบจิกทะเลและใบกระทิงซึ่งมีสารพิษกลุ่ม saponin ที่ก่อให้เกิดการทำลายเซลและเนื้อเยื่อมาศึกษาหาฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียดื้อยา, ต้านเซลมะเร็งและต้านแบคทีเรียชนิดก่อโรคอื่นๆ รวมทั้งสนใจที่จะศึกษาหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและสูตรโครงสร้างอย่างง่ายของสารออกฤทธิ์ที่มีผลต่อเซลล์มะเร็งและแบคทีเรียดื้อยาจากพืชมีพิษที่นำมาศึกษานั้น จากผลการศึกษาครั้งนี้พบว่าเมื่อนำสารสกัดชนิด crude extract ที่ได้จากเปลือกจิกทะเลและใบกระทิงที่สกัดด้วย Methanol, n Hexane และ Dichloromethane มาทำการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อก่อโรคชนิดดื้อยา Staphyllococcus aureus และ Salmonella typhi โดยวิธี Disc Diffusion พบว่าสารสกัดชนิด crude extract ของเปลือกจิกทะเลที่สกัดด้วย n Hexane และ Dichloromethane ในความเข้มข้น 5 ม.ก. และ 10 ม.ก. แสดงศักยภาพสูงในการต้านเชื้อก่อโรคดื้อยาที่ก่อปัญหามากในปัจจุบันคือ Staphylococus aureus ในขณะที่สารสกัดชนิด crude extract ทั้ง Methanol , n Hexane และ Dichloromethane ของใบจิกทะเลในความเข้มข้นอย่างละ 10 ม.ก. แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อในระดับปานกลาง และเฉพาะสารสกัดชนิด crude extract ของใบกระทิงที่สกัดด้วย Methanol เท่านั้นที่แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อในระดับปานกลางสำหรับเชื้อ Samonella typhi ที่มีปัญหาดื้อยาในบางพื้นที่พบว่าสารสกัด Methanol. ชนิด crude extract ของใบกระทิง ในความเข้มข้น 10 ม.ก. เท่านั้นที่แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Samonella typhi ในระดับปานกลาง และสารสกัด Methanol ชนิด crude extract ของเปลือกจิกทะเล , ใบจิกทะเล ในความเข้มข้นอย่างละ 10 ม.ก. เท่านั้นที่แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Samonella typhi เพียงเล็กน้อยส่วนสารสกัดอื่นๆ ไม่แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อเลย ในขณะที่ผลการทดสอบซึ่งห้องปฏิบัติการทดสอบฤทธิ์ชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพช่วยทดสอบให้พบว่าการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อรา In Vitro Antifungal Activity against Candida albican ที่ดำเนินการโดยวิธี Colorimetric Method 2,3 bis (2 methoxy 4 nitro 5 [(phenylamine)carbonyl] 2H tetra zolium hydroxide(XTT) assayแสดงผลว่า crude extract ของสารสกัด จากเปลือกจิกทะเล ใบจิกทะเลและใบกระทิงที่นำมาศึกษาทุกตัวในชุดนี้ไม่มีฤทธิ์ต้านเชื้อราชนิด Candida albican ในความเข้มข้นของสารสกัด 50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ส่วนผลการทดสอบหาฤทธิ์ต้านเชื้อวัณโรคที่ดำเนินการโดยวิธี Micro;late alamar Blue Assay (MABA) พบว่า crede extract ของสารสกัดจากเปลือกจิกทะเล ใบจิกทะเลและใบกระทิงที่สะกัดด้วย n Hexane และ Dichloromethane ทุกตัวและสารสกัด Methanol ชนิด crede extract จากใบจิกทะเลเท่านั้นที่แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อวัณโรคหรือ TB ที่ความเข้มข้นของสารสกัดเป็น 200ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ในขณะที่การทดสอบฤทธิ์ต้านคือ มะเร็งปอด Anti NCL H187 ชนิด Human ,small cell lung cancer ทดสอบโดยวิธี Colorimetric Method;3 ,5 dimethylthiazol2 yl) 2,5 diphenyltetrazoliumbromide (MTT) Assay พบว่าสารสกัด Hexane และ Dichloromethane ของใบจิกทะเลและใบกระทิงให้ผล Weakly active และมะเร็งเยื่อบุช่องปาก Anti cancer ชนิด Oral human epidermal carcinoma: KB และ มะเร็งเต้านม Anti cancer ชนิด Breast cancer : BC พบว่าสารสกัดจากใบกระทิงแสดงศักยภาพสูงในการต้านเซลมะเร็ง โดยครั้งนี้ไม่สามารถหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของเปลือกจิกทะเลที่ตั้งใจทำการศึกษาได้และเป็นผลทำให้ไม่สามารถหาสูตรโครงสร้างอย่างง่ายของสารออกฤทธิ์นั้นได้ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่ตั้งไว้ เนื่องจากสารสกัดตั้งต้นของเปลือกจิกทะเลที่เตรียมไว้ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีปริมาณน้อย จึงไม่พอเพียงกับการหาสารออกฤทธิ์ประกอบกับมีเวลามีจำกัด ส่วนการหาสูตรโครงสร้างของสารสกัดบริสุทธิ์จากใบกระทิงยังอยู่ในระหว่างการดำเนินงาน ถึงอย่างไรก็ตามผู้นำเสนอโครงงานยังมีความสนใจที่อยากจะทำการศึกษาต่อเพื่อให้ทราบถึงฤทธิ์และสารออกฤทธิ์ต้านเชื้อก่อโรคดื้อยาและต้านเซลมะเร็งของพืชมีพิษที่ทำการศึกษาคือกระทิงและจิกทะเลเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงงานที่ตั้งไว้ในโอกาสต่อไป