การเพิ่มความเข้มข้นและการวิเคราะห์โลหะหนักปริมาณน้อยมากด้วยเทคนิคซีเคว็นเชียลอินเจกชันควบคู่กับ แอโนดิก สทริปปิงโวลแทมเมทรีโดยใช้ขั้วไฟฟ้าคาร์บอนพิมพ์สกรีนเคลือบด้วยฟิล์มบิสมัต
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
เจนจิรา ปานชมพู
เอกสิทธิ์ ปั้นรัตน์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นาตยา งามโรจนวณิชย์
สุชาดา จูอนุวัฒนกุล
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
วิธีใหม่สำหรับระบบการเตรียมตัวอย่าง เพิ่มความเข้มข้น และหาปริมาณด้วยเทคนิคแอโนดิกสทริปปิงโวลแทมเมทรีนี้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้หาปริมาณตะกั่ว แคดเมียม และสังกะสี ที่ความเข้มข้นต่ำๆ ในเวลาเดียวกัน ด้วยเทคนิคซีเคว็นเชียลอินเจกชันควบคู่กับแสควร์เวฟแอโนดิกสทริปปิงโวลแทมเมทรี โดยใช้ขั้วไฟฟ้าคาร์บอนพิมพ์สกรีนเคลือบด้วยฟิล์มบิสมัต ในงานวิจัยนี้ อิมิโนไดแอซิเตตคีเลติงเรซินจะบรรจุลงในคอลัมน์ขนาดเล็กและต่อเข้ากับระบบการวิเคราะห์ เรซินนี้จะทำหน้าที่เก็บโลหะ เช่น ตะกั่ว แคดเมียม และสังกะสี ขั้นตอนต่อไป โลหะที่ถูกเก็บไว้ในเรซินจะถูกชะออกมาด้วยสารละลายกรดไฮโดรคลอริก จากนั้นโลหะที่ชะออกมาจะถูกวิเคราะห์ด้วยสแควร์เวฟแอโนดิกสทริปปิงโวลแทมเมทรี สภาวะที่ใช้ในการทดลองจะถูกปรับหาให้เหมาะสม ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมจากการทดลองนี้พบว่า ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงระหว่างความเข้มข้นกับสัญญาณอยู่ในช่วงความเข้มข้น 0.1 2 และ 2 16 ไมโครกรัมต่อลิตรสำหรับตะกั่ว 0.3 2 และ 2 14 ไมโครกรัมต่อลิตรสำหรับแคดเมียม และ 13 17 และ 20 40 ไมโครกรัมต่อลิตรสำหรับสังกะสี ขีดจำกัดของการตรวจวัด (S/N=3) คือ 0.001 ไมโครกรัมต่อลิตรสำหรับตะกั่ว 0.54 ไมโครกรัมต่อลิตรสำหรับแคดเมียม และ 16 ไมโครกรัมต่อลิตรสำหรับสังกะสี ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์สำหรับสัญญาณของโลหะที่ต้องการวิเคราะห์โดยวัดซ้ำ 6 ครั้งมีค่าต่ำกว่าร้อยละ 8 เทคนิคที่พัฒนาขึ้นนี้ถูกนำไปประยุกต์ใช้หาปริมาณตะกั่ว แคดเมียม และสังกะสี ในตัวอย่างน้ำ ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ