การโคลนและวิเคราะห์ลักษณะของยีนที่มีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการของไข่และรังไข่ของกุ้งกุลาดำ

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • สิทธิชัย อุดก่ำ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ศิราวุธ กลิ่นบุหงา

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาชีววิทยา

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

กุ้งกุลาดำนั้นประสบปัญหาเกี่ยวกับการไม่เจริญพันธุ์ของกุ้งกุลาดำเพศเมียในภาวะเพาะเลี้ยง ส่งผลให้ โปรแกรมการคัดเลือกเพื่อการผสมพันธุ์ของกุ้งกุลาดำยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยีนที่เกี่ยวข้องกับชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกุ้งกุลาดำ จึงมีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาดังกล่าว ในการทดลองนี้ได้ทำการศึกษารูปแบบการแสดงออกของยีน HMG DSP1, Presenilin enhancer, Bystin และ DEAH box polypeptide 15 ในรังไข่และอัณฑะของกุ้งกุลาดำเต็มวัย ด้วยวิธี RT PCR พบว่ายีนDEAH box polypeptide 15 มีการแสดงออกเฉพาะในอัณฑะของกุ้งกุลาดำ ส่วนยีน HMG DSP1, Presenilin enhancer และ Bystin มีการแสดงออกในรังไข่มากกว่าในอัณฑะของกุ้งกุลาดำ จึงทำการวิเคราะห์ระดับการแสดงออกของยีน HMG DSP1 และ Bystin ในรังไข่ระยะต่างๆของกุ้งกุลาดำเต็มวัย ด้วยวิธี semiquantitative RT PCR พบว่าการแสดงออกของยีน HMG DSP1 ในกุ้งปกติมีการแสดงออกที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในรังไข่ที่มีการพัฒนา (P >0.05) ในขณะที่การตัดก้านตาส่งผลให้การแสดงออกของยีน HMG DSP1 สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในรังไข่ระยะที่ III และ IV (P 0.05) ในขณะที่การตัดก้านตาส่งผลให้การแสดงออกของยีน Bystin ในรังไข่ของกุ้งกุลาดำลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระยะที่ II III และ IV (P 0.05)ผลการทดลองบ่งชี้ว่าการตัดตามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีนในรังไข่ของกุ้งกุลาดำ