การศึกษาดวงอาทิตย์จากกล้องโทรทรรศน์ที่มีชุดกรองแสงชนิดไฮโดรเจนแอลฟา SolarMax 90 mm ด้วย Meade DSI

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ศักดิ์ดาวุฒิ เมืองก้อน

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • อนิวรรต สุขสวัสดิ์ (มล)

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาฟิสิกส์

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

จากการใช้กล้องโทรทรรศน์ชนิดนี้พบว่า สามารถสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ได้ คือจุดบนดวงอาทิตย์, เปลวสุริยะ, แต้มสว่าง, ฟองสุริยะ, จุดสว่าง, หนามสุริยะ, การลุกจ้าและใยสุริยะซึ่งปรากฏการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศโฟโตสเฟียร์และโครโมสเฟียร์ เนื่องจาก Plate scale ของกล้องมีค่าเท่ากับ 257.83 ฟิลิปดาต่อมิลลิเมตร ทำให้สังเกตรายละเอียดของภาพได้เล็กที่สุดเท่ากับ 1.53 ฟิลิปดา การศึกษา Limb darkening พบว่า การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ที่มีการปลดปล่อยพลังงานในช่วงคลื่น H จะอยู่ในชั้น โฟโตสเฟียร์ส่วนล่าง และยังพบว่าจุดบนดวงอาทิตย์ (Umbra) มีอุณหภูมิ 4,067 เคลวินและ Flare มีอุณหภูมิ 7,736 เคลวิน โดยเทียบกับอุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวดวงอาทิตย์ ส่วนปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ของ Filaments นั้นจะสังเกตได้ยาก เพราะดวงอาทิตย์อยู่ในช่วง Minimum