การศึกษาเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งโบราณสถานบ้านคูเมือง ตำบลคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยเทคนิคเอกซ์เรย์ฟลูออเรสเซนซ์สเปกโทรสโกปี
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นิรันดร์ ลาภสาร
ศุภชัย ชัยโยชน์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ยุทธ แม้นพิมพ์
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณธาตุของวัตถุดิบในการทำเครื่องปั้นดินเผา และเศษหม้อดินเผาที่พบในแหล่งโบราณสถานบ้านคูเมือง ตำบลคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยอาศัยเทคนิคเอกซ์เรย์ฟลูออเรสเซนต์สเปกโทรสโกปี (XRFS) ตัวอย่างงานวิจัยมี 5 ตัวอย่าง คือ ดินเหนียว แท่งดินเผา ดินเทศ ดินทราย ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องปั้นดินเผา และเศษหม้อดินเผาที่ขุดพบ จากผลการวิเคราะห์พบว่า ธาตุที่พบมากที่สุดในตัวอย่างคือ ธาตุออกซิเจน และธาตุซิลิคอน ซึ่งคิดปริมาณเป็นร้อยละโดยน้ำหนัก โดยดินเหนียวพบออกซิเจน และซิลิกอน ร้อยละ 51.5837 และ 36.8950 แท่งดินเผาพบออกซิเจน และซิลิกอน ร้อยละ 50.7416 และ32.2596 ดินเทศมีออกซิเจน และซิลิกอน ร้อยละ 50.7418 และ 33.4527 ดินทรายพบออกซิเจน และซิลิกอนร้อยละ 52.3613 และ 41.2981 และเศษหม้อดินเผามีออกซิเจน และซิลิกอนร้อยละ 51.0964และ33.1221 สำหรับธาตุอื่น ๆ พบในปริมาณน้อย คือ อลูมิเนียม ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม ไททาเนียม แคลเซียม และแมกนีเซียม ในการเปรียบเทียบปริมาณธาตุแต่ละชนิดในวัตถุดิบตัวอย่างที่ใช้ในการทำเครื่องปั้นดินเผาทั้ง 4 ตัวอย่างกับปริมาณธาตุในหม้อดินเผาพบว่า ปริมาณธาตุมีค่าใกล้เคียงกัน The objectives of this research were to determine elements and quantity consisted in the matter that was used to make the earthenware and the chip of pottery at Ban Kumuang Ancient Remains, Tambon Kumuang, Amphur Warinchumrarb, Ubon Ratchathani Province by X – rays Fluorescence Spectroscopy was used in the analysis. The five samples was the clay, baked clay bar, Tad soil, sand which were used to make the earthenware and the clip of pottery. The research finding were the highest quantity element consisted in each sample was oxygen and the lesser quatity was silicon. The clays consisted the quantity of oxygen which was 51.5837 % and the quantity of silicon which was 36.8950 %. The baked clay bar consisted the quantity of oxygen which was 32.2596 % The Tad Soil consisted the quantity of silicon which was 50.7418 % and the quantity of silicon which was 33.4527 %. The Sand consisted the quantity of oxygen which was 52.3613 % and the quantity of silicon which was 41.2981 %. The clip of pottery consisted the quantity of oxygen which was 51.0964 % and the quantity of silicon which was 33.1221 % ( % by weight). Besides the other elements that were found in a little quantity were Aluminium, Phosphorus, Potassium, Titanium, Calcium and Magnesium. The comparison of the quantity consisted in each sample were approximately the same.